วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คำสั่ง คสช. ที่ 71 - 80 /2557

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๑/๒๕๕๗
เรื่อง จัดตั้งศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
       เพื่อให้การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทยทั้ง ๓ เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมือง และความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีเอกภาพ และการบูรณาการทุกภาคส่วนอย่างสอดคล้องและสัมพันธ์กัน จึงให้ดำเนินการดังนี้
       ๑. จัดตั้งศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีคณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เป็นผู้บริหารงาน
       ๒.แต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังนี้
         ๒.๑.คณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย
           ๒.๑.๑ รองหัวหน้าคณะกรรมการรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
           ๒.๑.๒ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ รองประธานกรรมการ
           ๒.๑.๓ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ รองประธานกรรมการ
           ๒.๑.๔ ปลัดกระทรวงกลาโหม รองประธานกรรมการ
           ๒.๑.๕ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารสูงสุด กรรมการ
           ๒.๑.๖ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารบก กรรมการ
           ๒.๑.๗ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารเรือ กรรมการ
           ๒.๑.๘ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ กรรมการ
           ๒.๑.๙ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
           ๒.๑.๑๐ ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
           ๒.๑.๑๑ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรรมการ
           ๒.๑.๑๒ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรรมการ
           ๒.๑.๑๓ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
           ๒.๑.๑๔ ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
           ๒.๑.๑๕ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการ
           ๒.๑.๑๖ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรรมการ
           ๒.๑.๑๗ ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
           ๒.๑.๑๘ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
           ๒.๑.๑๙ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
           ๒.๑.๒๐ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กรรมการ
           ๒.๑.๒๑ ปลัดกระทรวงแรงงาน กรรมการ
           ๒.๑.๒๒ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กรรมการ
           ๒.๑.๒๓ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการ
           ๒.๑.๒๔ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ
           ๒.๑.๒๕ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
           ๒.๑.๒๖ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
           ๒.๑.๒๗ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ
           ๒.๑.๒๘ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
           ๒.๑.๒๙ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรรมการ
           ๒.๑.๓๐ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน กรรมการ
           ๒.๑.๓๑ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กรรมการ
           ๒.๑.๓๒ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรรมการ
           ๒.๑.๓๓ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กรรมการ
           ๒.๑.๓๔ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน กรรมการ
           ๒.๑.๓๕ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน กรรมการ
           ๒.๑.๓๖ ประธานสมาคมธนาคารไทยหรือผู้แทน กรรมการ
           ๒.๑.๓๗ เสนาธิการทหาร กรรมการและเลขานุการ
           ๒.๑.๓๘ เจ้ากรมยุทธการทหาร ผู้ช่วยเลขานุการ
           ๒.๑.๓๙ อธิบดีกรมอาเซียน ผู้ช่วยเลขานุการ
       ๒.๒ อำนาจหน้าที่
           ๒.๒.๑ บริหารงาน และกำกับดูแลศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนให้เป็นไปตามนโยบาย
           ๒.๒.๒ กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทาง และท่าทีของไทยในการเข้าร่วมกรอบความร่วมมืออาเซียน
           ๒.๒.๓ พิจารณาแก้ไข ปรับปรุง พัฒนา กฎหมาย กฎ ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
           ๒.๒.๔ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน ได้ตามความเหมาะสม โดยคณะอนุกรรมการหลักประกอบด้วย
             ๒.๒.๔.๑ คณะอนุกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มีปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน
             ๒.๒.๔.๒ คณะอนุกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน มีรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธาน
             ๒.๒.๔.๓ คณะอนุกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธาน
           ๒.๒.๕ สามารถเชิญผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมการประชุม ได้ตามความเหมาะสม
           ๒.๒.๖ เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว ให้คณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ยังคงรับผิดชอบการดำเนินการ ไปจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
            ๒.๒.๗ รายงานผลการปฏิบัติ ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทราบอย่างต่อเนื่อง
      ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      สั่ง ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗



คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๒/๒๕๕๗
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
        เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนของประเทศตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยใช้ประโยชน์จากความเชื่อมโยงด้านคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเซียนและข้อตกลงการค้าเสรีภายใต้กรอบอาเซียน หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
       ๑.องค์ประกอบ
         ๑.๑ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย ประธานกรรมการ
         ๑.๒ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
         ๑.๓ ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
         ๑.๔ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
         ๑.๕ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
         ๑.๖ ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
         ๑.๗ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
         ๑.๘ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
         ๑.๙ ปลัดกระทรวงแรงงาน กรรมการ
         ๑.๑๐ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
         ๑.๑๑ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรรมการ
         ๑.๑๒ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
         ๑.๑๓ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรรมการ
         ๑.๑๔ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
         ๑.๑๕ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ
         ๑.๑๖ ประธานกรรมการหอการค้าไทย กรรมการ
         ๑.๑๗ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการ
         ๑.๑๘ ประธานสมาคมธนาคารไทย กรรมการ
         ๑.๑๙ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ
         ๑.๒๐ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
      ๒. อำนาจหน้าที่
         ๒.๑ พิจารณาให้ความเห็นชอบและเสนอร่างหลักเกณฑ์และวิธีการสนับสนุนการจัดตั้งและดำเนินการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ตลอดจนร่างเผนแม่บท แผนงานหรือโครงการและแผนปฏิบัติการต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อพิจารณาอนุมัติ
         ๒.๒ กำหนดแนวทางให้หน่วยงานถือปฏิบัติเพื่อให้การพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษรวมทั้งการส่งเสริมการค้าเสรีภายใต้กรอบอาเซียนหรือข้อตกลงภายใต้กรอบเศรษฐกิจอื่น หรือการค้าบริเวณพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นไปโดยเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
         ๒.๓ กำกับดูแล ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนแม่บท ตลอดจนให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไข้ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการตามแผนแม่บท แผนงานหรือโครงการหรือแผนปฏิบัติการ และรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
         ๒.๔ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานได้ตามความเหมาะสม
         ๒.๕ เชิญเจ้าหน้าที่ บุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง หรือเรียกเอกสารจากบุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น
         ๒.๖ ออกระเบียบ ประกาศ และคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการตามคำสั่งดังนี้
         ๒.๗ เสนอแนะต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อให้มีกฏระเบียบ หรือปรับปรุงแก้ไข กฏระเบียบที่จำเป็นต่อการจัดตั้งและดำเนินการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
         ๒.๘ ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งนี้ หรือตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
       ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อำนายความสะดวกในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการนโยบายฯ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานเฉพาะกิจ สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ.๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการนโยบาย ฯ คณะอนุกรรมการและคณะทำงานเฉพาะกิจ ให้เบิกจ่ายตามระเบียบทางราชการ โดยให้เบิกจ่ายจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
        ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
        สั่ง ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๓/๒๕๕๗
เรื่อง  แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์
      เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวทั้งระบบ และปัญหาการค้ามนุษย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการบูรณาการ ลดผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจและสังคมจิตวิทยา จึงให้ยกเลิกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๕๙/๒๕๕๗ และใช้คำสั่งดังต่อไปนี้
      ๑. แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ (กนร.) ประกอบด้วย
        ๑.๑ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
        ๑.๒ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย) รองประธานกรรมการ
        ๑.๓ ปลัดกระทรวงแรงงาน รองประธานกรรมการ
        ๑.๔ ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รองประธานกรรมการ
        ๑.๕ ปลัดกระทรวงกลาโหม กรรมการ
        ๑.๖ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
        ๑.๗ ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
        ๑.๘ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
        ๑.๙ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กรรมการ
        ๑.๑๐ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
        ๑.๑๑ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
        ๑.๑๒ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ
        ๑.๑๓ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
        ๑.๑๔ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
        ๑.๑๕ ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
        ๑.๑๖ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยว กรรมการ
        ๑.๑๗ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ กรรมการ
        ๑.๑๘ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
        ๑.๑๙ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรรมการ
        ๑.๒๐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
        ๑.๒๑ เลขาธิการคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กรรมการ
        ๑.๒๒ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรรมการ
        ๑.๒๓ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ กรรมการ
        ๑.๒๔ ผู้บัญชาการทหารบก กรรมการ
        ๑.๒๕ ผู้บัญชาการทหารเรือ กรรมการ
        ๑.๒๖ ผู้บัญชาการทหารอากาศ กรรมการ
        ๑.๒๗ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ
        ๑.๒๘ เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กรรมการ
        ๑.๒๙ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กรรมการ
        ๑.๓๐ เสนาธิการทหาร กรรมการและเลขานุการ
        ๑.๓๑ เจ้ากรมยุทธการทหาร กรรมการและเลขานุการ
        ๑.๓๒ อธิบดีกรมการจัดหางาน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
    ๒. คณะกรรมการมีอำนาจ ดังนี้
        ๒.๑ เสนอแนะนโยบาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน และการใช้แรงงานเด็กต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
        ๒.๒ อำนวยการ กำกับดูแล ติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ และรายงานผลต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
        ๒.๓ พิจารณาให้ความเห็นชอบ ยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ และมาตรการที่เกี่ยวข้อง ก่อนนำเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
        ๒.๔ พิจารณาสนับสนุนให้ทบทวนกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
        ๒.๕ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
        ๒.๖ ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
     ๓. คณะกรรมการตามคำสั่งนี้ สามารถยุบเลิก หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ
     ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
     สั่ง ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๔/๒๕๕๗
เรื่อง แต่งตั้งอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์
       เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติในการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว ทั้งระบบ การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเอกภาพ และเกิดผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมโดยเร็ว คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงให้ยกเลิกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๐/๒๕๕๗ และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ (อกนร.)เพื่อช่วยปฏิบัติงานของคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ (กนร.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
       ๑. องค์ประกอบ
        ๑.๑ เสนาธิการทหาร ประธานอนุกรรมการ
        ๑.๒ อธิบดีกรมจัดหางาน รองประธานอนุกรรมการ
        ๑.๓ อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ รองประธานอนุกรรมการ
        ๑.๔ เสนาธิการทหารบก อนุกรรมการ
        ๑.๕ เสนาธิการทหารเรือ อนุกรรมการ
        ๑.๖ เสนาธิการทหารอากาศ อนุกรรมการ
        ๑.๗ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม อนุกรรมการ
        ๑.๘ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ อนุกรรมการ
        ๑.๙ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ ๒ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร อนุกรรมการ
        ๑.๑๐ อธิบดีกรมการปกครอง อนุกรรมการ
        ๑.๑๑ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน อนุกรรมการ
        ๑.๑๒ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ อนุกรรมการ
        ๑.๑๓ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อนุกรรมการ
        ๑.๑๔ อธิบดีกรมประมง อนุกรรมการ
        ๑.๑๕ อธิบดีกรมเจ้าท่า อนุกรรมการ
        ๑.๑๖ อธิบดีกรมควบคุมโรค อนุกรรมการ
        ๑.๑๗ อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก อนุกรรมการ
        ๑.๑๘ อธิบดีกรมอาเซียน อนุกรรมการ
        ๑.๑๙ อธิบดีกรมอนามัย อนุกรรมการ
        ๑.๒๐ ปลัดกรุงเทพมหานคร อนุกรรมการ
        ๑.๒๑ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ อนุกรรมการ
        ๑.๒๒ ผู้บัญชาการสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ อนุกรรมการ
        ๑.๒๓ ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง อนุกรรมการ
        ๑.๒๔ เจ้ากรมยุทธการทหาร อนุกรรมการและเลขานุการ
        ๑.๒๕ ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการกรมยุทธการทหาร อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
        ๑.๒๖ ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
      ๒. อำนาจหน้าที่
        ๒.๑ เสนอแนะนโยบาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน และการใช้แรงงานเด็ก ต่อคณะกรรมการ
        ๒.๒ ประสานงาน ติดตามการดำเนินงาน ตามแผนปฏิบัติการ การจัดทำรายงานให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะแก่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
        ๒.๓ พิจารณากลั่นกรองแผนงาน โครงการ และมาตรการที่เกี่ยวข้องก่อนนำเสนอคณะกรรมการ
        ๒.๔ พิจารณาทบทวน ปรับปรุง และพัฒนาหลักเกณฑ์ในการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ ก่อเสนอคณะกรรมการพิจารณา
        ๒.๕ กำกับการบังคับใช้กฏหมายที่เกี่ยวข้องให้เกิดประสิทธิภาพ สอดคล้องกับกฏหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กฏหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติรวมทั้งพันธกรณีระหว่างประเทศ
        ๒.๖ ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
      ๓. คณะอนุกรรมการตามคำสั่งนี้ สามารถยุบเลิก หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ
      ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      สั่ง ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๕/๒๕๕๗
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ
        เพื่อให้การกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจทั้งระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นเอกภาพ สามารถแก้ไขปํญหาต่างๆ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้าร่วมกองทุนในกิจการของรัฐ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของรัฐและประชาชนเป็นสำคัญ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
        ข้อ ๑ ให้มีคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย
            (๑) หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
            (๒) รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ รองประธานกรรมการ
            (๓) รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ กรรมการ
            (๔) ปลัดกระทรวงกลาโหม กรรมการ
            (๕) ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
            (๖) ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
            (๗) ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
            (๘) ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
            (๙) เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
            (๑๐) เลขาธิการคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
            (๑๑) นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล กรรมการ
            (๑๒) นายบัณฑูร ล่ำซำ กรรมการ
            (๑๓) นายบรรยง พงษ์พานิช กรรมการ
            (๑๔) นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการ
            (๑๕) นายรพี สุจริตกุล กรรมการ
            (๑๖) นายวิรไท สันติภาพ กรรมการ
            (๑๗) ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กรรมการและเลขานุการ
      ข้อ ๒ ให้คณะกรรมการตาม ข้อ ๑ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
            ๑.เสนอแนะนโยบาย แผนการบริหารและมาตรการในการทำภารกิจต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
            ๒.กำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้การบริหารงานของรัฐวิสาหกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุด
            ๓.บูรณาการการดำเนินการของรัฐวิสาหกิจให้มีความเป็นเอกภาพ
            ๔.เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ ของรัฐวิสาหกิจทั้งในด้านการบริหาร การดำเนินงาน และด้านการเงินต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
            ๕.ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ
            ๖.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
            ๗.เชิญเจ้าหน้าที่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง หรือเรียกเอกสารจากบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น
           ๘.ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งนี้ หรือตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
       ข้อ ๓ ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลังอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตามคำสั่งนี้ สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ และการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นให้เป็นไปตามระเบียบทางราชการ ทั้งนี้ ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       สั่ง ณ วันที่ ๒๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  ฉบับที่ ๗๖/๒๕๕๗
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก
        เพื่อให้การพัฒนาและแก้ไขปัญหาในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก รวมถึงการแก้ไขปัญหามาบตาพุต เป็นไปอย่างเป็นระบบ มีเอกภาพ และบังเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก (กพอ.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังนี้
      ๑.องค์ประกอบ
        ๑.๑. รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ ประธานกรรมการ
        ๑.๒. ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
        ๑.๓. ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
        ๑.๔. ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
        ๑.๕. ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการ
        ๑.๖. ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
        ๑.๗. ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
        ๑.๘. ปลัดกระทรวงแรงงาน กรรมการ
        ๑.๙. ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการ
        ๑.๑๐. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ
        ๑.๑๑. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
        ๑.๑๒. ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
        ๑.๑๓. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
        ๑.๑๔. ประธานกรรมการสภาพหอการค้าแห่งประเทศไทย กรรมการ
        ๑.๑๕. ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการ
        ๑.๑๖. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
        ๑.๑๗. รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มอบหมาย กรรมการและเลขานุการ
        ๑.๑๘. เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มอบหมาย กรรมการผู้ช่วยเลขานุการ
     ๒.อำนาจหน้าที่
        ๒.๑ เสนอแนะแนวทางและมาตรการต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก รวมถึงการแก้ไขปัญหามาบตาพุดอย่างยั่งยืน
        ๒.๒ กำกับดูแล ประสานงาน และเร่งติดตามการดำเนินงานของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก รวมถึงการแก้ไขปัญหามาบตาพุด อย่างเป็นระบบและมีเอกภาพ
        ๒.๓ เชิญผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการ รวมทั้งเรียกเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา
        ๒.๔ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือหรือปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม เพื่อดำเนินการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
        ๒.๕ ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
       ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ โดยให้เบิกจ่ายตามระเบียบทางราชการ โดยให้เบิกจ่ายจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       สั่ง ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๗/๒๕๕๗
เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
       เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังนี้
       ข้อ ๑ ให้กำหนดตำแหน่งข้าราชการเพิ่มขึ้นในส่วนราชการ ดังนี้
            (๑) ตำแหน่ง ประธานคณะที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม (อัตราจอมพล) ในกระทรวงกลาโหม จำนวนหนึ่งตำแหน่ง โดยให้เป็นตำแหน่งข้าราชการทหาร ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. ๒๕๒๑
            (๒) ตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นตำแหน่งข้าราชการอัยการ ชั้น ๘ เทียบเท่าอัยการสูงสุด จำนวนหนึ่งตำแหน่ง โดยให้เป็นตำแหน่งข้าราชการอัยการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓
            (๓) กำหนดตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวนห้าตำแหน่ง โดยให้เป็นตำแหน่งข้าราชการพลเรือน ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
      ข้อ ๒ ให้ พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก พ้นจากตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม และให้ดำรงตำแหน่ง ประธานคณะที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม ตามข้อ ๑ (๑) เป็นพิเศษเฉพาะราย
      ข้อ ๓ ให้ นายอรรถพล ใหญ่สว่าง พ้นจากตำแหน่ง อัยการสูงสุด และให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักงานอัยการสูงสุด ตามข้อ ๑ (๒) เป็นพิเศษเฉพาะราย
      ข้อ ๔ ให้ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นพิเศษเฉพาะราย
      ข้อ ๕ ให้ นายธงทอง จันทรางศุ พ้นจากตำแหน่ง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นพิเศษเฉพาะราย
      ข้อ ๖ ให้ นายสุรชัย ศรีสารคาม พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นพิเศษเฉพาะราย
      ข้อ ๗ ให้ พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นพิเศษเฉพาะราย
      ข้อ ๘ ให้ นายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และให้ดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นพิเศษเฉพาะราย
      ข้อ ๙ ให้ พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงกลาโหม และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงกลาโหม
      ข้อ ๑๐ ให้ นายตระกูล วินิจนัยภาค พ้นจาก รองอัยการสูงสุด และให้ดำรงตำแหน่ง อัยการสูงสุด
      ข้อ ๑๑ ให้ หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล พ้นจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
      ข้อ ๑๒ ให้ นางเมธินี เทพมณี พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
      ข้อ ๑๓ ให้ นายภานุ อุทัยรัตน์ พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
      ข้อ ๑๔ ให้ นายจเร พันธุ์เปรื่อง พ้นจากตำแหน่งรองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
      ข้อ ๑๕ ให้ พลตำรวจเอก ชัชวาลย์ สุขสมจิตต์ พ้นจากตำแหน่ง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และให้ดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
      ข้อ ๑๖ ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้น ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีคำสั่งนี้เป็นต้นไป
      ข้อ ๑๗ ให้กระทรวงกลาโหม สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ สำนักงานเลขาธิการผู้แทนราษฎร สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าว ให้เรียบร้อยโดยด่วน โดยจัดให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่า ตำแหน่งที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่เดิม
      ข้อ ๑๘ เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
      ข้อ ๑๙ เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ และข้อ ๘ แล้ว ให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นอันยกเลิก
      ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      สั่ง ณ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๘/๒๕๕๗
เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
      เพื่อให้การปฎิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังนี้
      ข้อ ๑ ให้กำหนดตำแหน่งข้าราชการเพิ่มขึ้นในส่วนราชการ ดังนี้
            (๑) ตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวนหนึ่งตำแหน่ง
            (๒) ตำแหน่ง ที่ปรึกษาในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม จำนวนหนึ่งตำแหน่ง
            (๓) ตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการ ในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง จำนวนหนึ่งตำแหน่ง
      ข้อ ๒ ให้ นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ ๑(๑) เป็นพิเศษเฉพาะราย
      ข้อ ๓ ให้ นางสาวชุติมา บุณยประภัศร พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงพาณิชย์
      ข้อ ๔ ให้ พันตำรวจเอก ประเวศน์ มูลประมุข พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม ตามข้อ ๑(๒) เป็นพิเศษเฉพาะราย
      ข้อ ๕ ให้ นายประยงค์ ปรียาจิตต์ พ้นจากตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
      ข้อ ๖ ให้ นายราฆพ ศรีศุภอรรถ พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมศุลกากร และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ตามข้อ ๑(๓) เป็นพิเศษเฉพาะราย
      ข้อ ๗ ให้ นายสมชัย สัจพงษ์ พ้นจากตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และให้ตำแหน่ง อธิบดีกรมศุลกากร
      ข้อ ๘ ให้ นายกฤษฏา จีนะวิจารณะ พ้นจากตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักเศรษฐกิจการคลัง และให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจการคลัง
      ข้อ ๙ ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้น ปฎิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีคำสั่งนี้เป็นต้นไป
      ข้อ ๑๐ ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าวให้เรียบร้อยโดยด่วน โดยจัดให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่เดิม
      ข้อ ๑๑ เมื่อมีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
      ข้อ ๑๒ เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตาม ข้อ ๒ ข้อ ๔ และข้อ ๖ แล้ว ให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นอันยกเลิก
      ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      สั่ง ณ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๙/๒๕๕๗
เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
        เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังนี้
       ข้อ ๑ ให้กำหนดตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรีจำนวนสี่ตำแหน่ง โดยให้เป็นข้าราชการพลเรือนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
       ข้อ ๒ ให้นายปรีชา กันธิยะ พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ ๑ เป็นพิเศษเฉพาะราย
       ข้อ ๓ ให้ นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวงพลังงาน และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ ๑ เป็นพิเศษเฉพาะราย
       ข้อ ๔ ให้นายทศพร ศิริสัมพันธ์ พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ ๑ เป็นพิเศษเฉพาะราย
       ข้อ ๕ ให้นายอภิชาต จีระวุฒิ พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ ๑ เป็นพิเศษเฉพาะราย
       ข้อ ๖ ให้ นายอภินันท์ โปษยานนท์ พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
       ข้อ ๗ ให้ นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงพลังงาน
       ข้อ ๘ ให้ นายกำจร ตติยกวี พ้นจากตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
       ข้อ ๙ ให้ นายกมล รอดคล้าย พ้นจากตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
       ข้อ ๑๐ ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้น ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีคำสั่งนี้เป็นต้นไป
       ข้อ ๑๑ ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าวให้เรียบร้อยโดยด่วน โดยจัดให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่เดิม
       ข้อ ๑๒ เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
       ข้อ ๑๓ เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕ แล้วให้ตำแหน่งดังกล่าว เป็นอันยกเลิก
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       สั่ง ณ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๐/๒๕๕๗
เรื่อง ให้บุคคลปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด
        เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลที่มีรายชื่อดังต่อไปนี้
       ๑. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์
       ๒. พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์
       ๓. นายชูศักดิ์ ศิรินิล
       ๔. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา
       ๕. นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์
       ๖. นายจตุพร พรหมพันธุ์
       ๗. นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
       ๘. นางธิดา โตจิราการ
       ๙. นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์
       ๑๐. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
       ๑๑. นายจุติ ไกรฤกษ์
       ๑๒. นายศิริโชค โสภา
       ๑๓. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ
       ๑๔. นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์
       ๑๕. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
       ๑๖. นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย
       ๑๗. นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์
       ๑๘. นายสมศักดิ์ โกศัยสุข
       ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ดังนี้
       ข้อ ๑ ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ข้อ ๒ ให้ละเว้นการเคลื่อนไหวหรือประชุมทางการเมือง ณ ที่ใด ๆ
       ข้อ ๓ หากฝ่าฝืนเงื่อนไขดังกล่าวหรือดำเนินการช่วยเหลือสนับสนุนกิจกรรมทางการเมืองให้ถือว่าเป็นผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศ คสช. ฉบับที่ ๓๙/๒๕๕๗ ลง ๒๕ พ.ค.๕๗ เรื่อง การกำหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวของบุคคลที่มารายงานต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       สั่ง ณ วันที่ ๒๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗

           พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ