เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.)
เพื่อให้การพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศไทย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. องค์ประกอบ
1.1 รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ/หัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ ประธานกรรมการ
1.2 หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม รองประธานกรรมการ
1.3 ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
1.4 ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
1.5 ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
1.6 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
1.7 ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
1.8 ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการ
1.9 ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรรมการ
1.10 ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
1.11 ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
1.12 ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
1.13 ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ
1.14 ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
1.15 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
1.16 ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กรรมการ
1.17 ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการ
1.18 ประธานสมาคมธนาคารไทย กรรมการ
1.19 ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย กรรมการ
1.20 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ
1.21 รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
2. อำนาจหน้าที่
2.1 ให้ความเห็นหรือเสนอแนะต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในประเด็นที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
2.2 กำกับดูแล ประสานงาน และเร่งรัดติดตามการดำเนินงานของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
2.3 เชิญผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการ รวมทั้งเรียกเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา
2.4 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือหรือปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม เพื่อดำเนินการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
2.5 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ ให้เบิกจ่ายตามระเบียบทางราชการ โดยให้เบิกจ่ายจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 9 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๙๒/๒๕๕๗
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
เพื่อให้การปฎิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่ง ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมควบคุมประพฤติ และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมบังคับคดี
ข้อ ๒ ให้ นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมบังคับคดี และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม
ข้อ ๓ ให้ นางกรรณิการ์ แสงทอง พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมควบคุมประพฤติ
ข้อ ๔ ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้น ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีคำสั่งนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๕ เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๙๓/๒๕๕๗
เรื่อง ยกโทษปลดออกจากราชการ
โดยที่ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่
๙๙/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
ให้นายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับแจ้งมติของ ก.ตร. ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๒
เมื่อวันที่
๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ และครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๓ ที่ให้สั่งยกโทษปลด พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ออกจากราชการตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่
๒๒๘/๒๕๕๒
ลงวันที่
๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด นั้น
เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลปกครองกลางซึ่งถึงที่สุดข้างต้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติในฐานะผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐/๒๕๕๗ เรื่อง ให้อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๒ (๑) และมาตรา ๑๐๕ แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ ประกอบกับ ข้อ ๑๘ (๒) (ง) ข้อ ๒๑ และข้อ ๒๓ แห่งกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๗ มีคำสั่งให้ยกโทษปลด พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ออกจากราชการตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๒๘/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลปกครองกลางซึ่งถึงที่สุดข้างต้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติในฐานะผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐/๒๕๕๗ เรื่อง ให้อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๒ (๑) และมาตรา ๑๐๕ แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ ประกอบกับ ข้อ ๑๘ (๒) (ง) ข้อ ๒๑ และข้อ ๒๓ แห่งกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๗ มีคำสั่งให้ยกโทษปลด พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ออกจากราชการตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๒๘/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๙๔/๒๕๕๗
เรื่อง การระงับการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
เพื่อให้การดำเนินการของ กสทช. ในการประมูลคลื่นความถี่เพื่อกิจกรรมโทรคมนาคม เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปอย่างรอบคอบ เพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการให้ได้รับประโยชน์และใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง ปราศจากข้อจำกัดในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านการสิ้นสุดการสัมปทานและคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ กสทช. ชะลอการดำเนินการเกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อกิจการโทรคมนาคม ออกไปเป็นระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่มีคำสั่งนี้
ในระหว่างชะลอการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ กสทช. คุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราว ในกรณีสิ้นสุดการอนุญาติหรือสัมปทาน ให้ผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์และใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง ปราศจากข้อจำกัด โดยให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.๒๕๕๖
ข้อ ๒ ให้ กสทช. ดำเนินการให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ออกกฎ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง หรือแก้ไขปรับปรุงหรือยกเลิกกฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการดำเนินการให้เป็นไปด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม และสามารถตรวจสอบได้ อันจะทำให้การดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลสูงสุดและสอดคล้องกับแนวนโยบายการใช้จ่ายเงินงบประมาณของรัฐ โดยคำนึงถึงความมั่นคงของรัฐและประโยชน์สาธารณะ
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๙๕/๒๕๕๗
เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
เพื่อให้การปฎิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงออกคำสั่ง ดังนี้
ข้อ 1 ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการกระทรวงเพิ่มขึ้นในส่วนราชการ ดังนี้
(1) ตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวนหนึ่งตำแหน่ง
(2) ตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ ในกระทรวงพาณิชย์ จำนวนหนึ่งตำแหน่ง
ข้อ 2 ให้นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ พ้นตำแหน่ง อธิบดีกรมการค้าภายต่างประเทศและให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ (1) เป็นพิเศษเฉพาะราย
ข้อ 3 ให้ นายสมชาติ สร้อยทอง พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมการค้าภายในและให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ ตามข้อ 1 (2) เป็นพิเศษเฉพาะราย
ข้อ 4 ให้ นางดวงพร รอดพยาธิ์ พ้นจากตำแหน่ง ที่ปรึกษาการพาณิชย์ (นักวิชาการพาณิชย์) ทรงคุณวุฒิ และให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ
ข้อ 5 ให้ นางจิตนา ชัยยวรรณการ พ้นจากตำแหน่ง รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการค้าภายใน
ข้อ 6 ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้น ปฎิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่คำสั่งนี้เป็นต้นไป
ข้อ 7 ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าวให้เรียบร้อยโดยด่วน โดยจัดให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่เดิม
ข้อ 8 เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ข้อ 9 เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ 2 และข้อ 3 แล้ว ให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นอันยกเลิก
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 19 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 96/2557
เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีการปรับปรุงการบริหารจัดการปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 98/2557 เรื่อง การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2557 โดยให้มีการดำเนินการแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับนโยบาย ระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และระดับหน่วยปฏิบัติ และโดยที่ในระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัตินั้น ให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไข้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
ให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไข้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) ประกอบด้วย
1. รองผู้บัญชาการทหารบก - ประธานกรรมการ
2. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี - กรรมการ
3. ปลัดกระทรวงกลาโหม - กรรมการ
4. ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ - กรรมการ
5. ปลัดกระทรวงมหาดไทย - กรรมการ
6. ปลัดกระทรวงยุติธรรม - กรรมการ
7. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ - กรรมการ
8. เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน - กรรมการ
9. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ - กรรมการ
10. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ - กรรมการ
11. ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ - กรรมการ
12. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ - กรรมการ
13. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ - กรรมการ
14. เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร - กรรมการ
15. อธิบดีกรมบัญชีกลาง - กรรมการ
16. ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 - กรรมการ
17. เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ - กรรมการและเลขานุการ
18. เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ - กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
19. รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติที่เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติมอบหมาย - กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
20. ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร - กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 97/2557
เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ
โดยที่การกำกับดูแลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจนั้น คณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจจำเป็นต้องมีอำนาจหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างทันท่วงที เพื่อให้การดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจทั้งระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของรัฐและประชาชนเป็นสำคัญ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้ (2/3) ของข้อ 2 ให้คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 75/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ลงวันที่ 26 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
“(2/3) เสนอแนะต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อให้มีคำสั่งระงับ หรือยับยั้งการดำเนินโครงการใดๆ ของรัฐวิสาหกิจ ที่เห็นว่าเป็นการนอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามขอบวัตถุประสงค์ของรัฐวิสาหกิจนั้น หรือมีลักษณะที่น่าจะเป็นการดำเนินงานที่ส่อไปในทางทุจริตไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่โปร่งใส ไว้ก่อน เพื่อให้มีการตรวจสอบ ทบทวน หรือแก้ไขตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป”
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 2/1 ของคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 75/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ลงวันที่ 26 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
ข้อ 2/1 เมื่อมีคณะรัฐมนตรีเข้าทำหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญแล้ว ให้คณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจยังคงมีอำนาจหน้าที่ตามข้อ 2 โดยในการดำเนินการตาม (1) (2) (2/1) (3) (4) และ (5) ของข้อ 2 ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 98/2557
เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้กำหนดตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นในกระทรวงอุตสาหกรรม จำนวนหนึ่งตำแหน่ง
ข้อ 2 ให้ นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ตามข้อ 1 เป็นพิเศษเฉพาะราย
ข้อ 3 ให้ นายพสุ โลหารชุน พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ข้อ 4 ให้ นายชาญชัย สุวิสุทธะกุล พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม และให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงคมนาคม
ข้อ 5 ให้ นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมเจ้าท่า และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม
ข้อ 6 ให้ นายจุฬา สุขมานพ พ้นจากตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมเจ้าท่า
ข้อ 7 ให้ นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ พ้นจากตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
ข้อ 8 ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้นปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีคำสั่งนี้เป็นต้นไป
ข้อ 9 ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าว ให้เรียบร้อยโดยด่วน โดยจัดให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่เดิม
ข้อ 10 เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ข้อ 11 เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ 6 แล้ว ให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นอันยกเลิก
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 99/2557
เรื่อง การให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมพ้นจากตำแหน่ง
เพื่อให้การปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ นายปฏิมา จีระแพทย์ พ้นจากตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ข้อ 2 ให้ นางสาววิมลกานต์ โกสุมาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๒๑ กรกฏาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐๐/๒๕๕๗
เรื่อง การแต่งตั้งคณะทำงานติดตามและตรวจสอบการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว และการค้ามนุษย์กรุงเทพมหานคร
ตามที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๗๓/๒๕๕๗ เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ แล้วนั้น เพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายในการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวและการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในเขตพื้นที่ของกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุด คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้แต่งตั้งคณะทำงานติดตามและตรวจสอบการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
(๑) ปลัดกระทรวงแรงงาน ประธานคณะทำงาน
(๒) รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตามที่ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มอบหมาย รองประธานคณะทำงาน
(๓) รองปลัดกรุงเทพมหานคร ตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย รองประธานคณะทำงาน
(๔) อธิบดีกรมการจัดหางาน คณะทำงาน
(๕) อธิบดีกรมการปกครอง คณะทำงาน
(๖) อธิบดีกรมการแพทย์ คณะทำงาน
(๗) ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง คณะทำงาน
(๘) ผู้บัญชาการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง คณะทำงาน
(๙) ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล คณะทำงาน
(๑๐) รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานาคร (ฝ่ายทหาร) คณะทำงาน
(๑๑) ผู้อำนวยการสำนักงานปกครองและทะเบียน คณะทำงาน
(๑๒) ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน คณะทำงานและเลขานุการ
ข้อ ๒ ให้คณะทำงานติดตามและตรวจสอบการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์กรุงเทพมหานครตามข้อ ๑ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ติดตาม ตรวจสอบนายจ้างและสถานประกอบการ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน และการใช้แรงงานเด็กภายในเขตกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด
(๒) ประสานงานและติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนภายในเขตกรุงเทพมหานคร
(๓) รายงานผลการดำเนินงานพร้อมความเห็นและข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์
(๔) แต่งตั้งชุดติดตามและตรวจสอบการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์กรุงเทพมหานครเพื่อทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
(๕) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์มอบหมาย
ข้อ ๓ ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐภายในเขตกรุงเทพมหานคร สนับสนุนการดำเนินการของคณะทำงานติดตามและตรวจสอบการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์กรุงเทพมหานคร และชุดติดตามและตรวจสอบการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์กรุงเทพมหานคร ตามที่ได้รับการร้องขอ
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ