วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 81 - 90 /2557

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๑/๒๕๕๗
เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ.๒๕๒๑
        โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ เพื่อกำหนดให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญซึ่งเมื่อรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญแล้ว ต่ำกว่าเดือนละเก้าพันบาทได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มอีกตามอัตราที่กำหนดอันเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่บุคคลดังกล่าวในการครองชีพ จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ.๒๕๒๑ ดังต่อไปนี้
        ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔ นว แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ.๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ.๒๕๕๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
             “มาตรา ๔ นว ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการถ้าได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญรวมกันทุกประเภทเมื่อรวมกับ ช.ค.บ.แล้ว ต่ำกว่าเดือนละเก้าพันบาทให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของจำนวนเงินเก้าพันบาทหักด้วยจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญทุกประเภท และ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิ์ได้รับ
        ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
        ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๒/๒๕๕๗
เรื่อง  เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๗
             โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีการจ่ายเงิน ช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด ของกระทรวงกลาโหม และเพื่อให้การกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายเงินดังกล่าวเป็นไปโดยสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการ กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
             ข้อ ๑ ในประกาศนี้
              “ข้าราชการทหารหมายความว่า ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร
              “โครงการหมายความว่า โครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗ ถึงปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑
              “เงินเดือนเดือนสุดท้ายหมายความว่า เงินเดือนที่ได้รับจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนเดือนสุดท้ายที่ออก จากราชการ รวมทั้งเงินเดือนที่ได้เลื่อนครั้งสุดท้ายก่อนออกจากราชการและเงินประจำ ตำแหน่ง แต่ไม่รวมถึงเงินเพิ่มทุกประเภท
              “เงินประจำตำแหน่งหมายความว่า เงินประจำตำแหน่งตามบัญชีท้ายกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร 
              “เงินช่วยเหลือหมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่ข้าราชการทหารซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตาม โครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม
              “เวลาราชการหมายความว่า เวลาที่ข้าราชการทหารรับราชการมาตั้งแต่ต้นจนถึงวันสุดท้ายที่ได้รับเงิน เดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้า ราชการ แต่ไม่รวมถึงเวลาราชการที่มีสิทธิ์ได้นับเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ
               “เวลาราชการที่เหลือหมายความว่า เวลาตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการจนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ของปีงบประมาณที่ข้าราชการทหารผู้ประสงค์จะลาออกจากราชการมีอายุครบหกสิบปีบ ริบูรณ์
              ข้อ ๒ ข้าราชการทหารซึ่งจะเข้าร่วมโครงการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ ในวันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ
               (๑) มีอายุตั้งแต่ห้าสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป หรือมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีขึ้นไป ทั้งนี้ให้นับถึงวันก่อนวันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามโครงการ
               (๒) มีเวลาราชการที่เหลือไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามโครงการ
               (๓) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถูกสอบหาข้อเท็จจริง หรือถูกสอบสวนทางวินัย หรืออยู่ในระหว่างการดำเนินการลงโทษทางวินัยตามกฎหมายเกี่ยวกับวินัยทหาร หรือเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาซึ่งมิใช่ความผิดลหุโทษหรือความผิดที่ ได้กระทำโดยประมาท
               (๔) ไม่เป็นผู้อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะต้องออกจากราชการไม่ว่ากรณีใดๆ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร
               (๕) ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างปฏิบัติราชการชดใช้ตามสัญญาที่ได้ทำไว้กับส่วนราชการ ในการไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย เว้นแต่จะยินยอมชดใช้เงินตามสัญญาผูกพันที่ได้ทำไว้กับราชการและได้ปฏิบัติ ราชการชดใช้มาแล้วไม่น้อยกว่าระยะเวลาศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัยนั้น
               วันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตาม วรรคหนึ่ง ต้องอยู่ในระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๖ ถึงวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๐ ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขของโครงการ
               ข้อ ๓ ให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่ข้าราชการทหารซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตาม โครงการ เป็นจำนวนเท่ากับจำนวนปีของเวลาราชการที่เหลือบวกด้วยแปดและคูณด้วยเงิน เดือนเดือนสุดท้าย แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินสิบห้าเท่าของเงินเดือนเดือนสุดท้าย
               การนับเวลาราชการที่เหลือตามวรรคหนึ่ง ให้คำนวณเป็นปี แต่ถ้ามีเศษของปีถึงครึ่งปี ให้ได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มขึ้นอีกครึ่งหนึ่งของเงินเดือนเดือนสุดท้าย
               การเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
               การรับเงินช่วยเหลือตามวรรคหนึ่ง ไม่ตัดสิทธิของข้าราชการทหารที่มีอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้า ราชการและกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ รวมถึงสิทธิประโยชน์อื่นใดที่ทางราชการให้แก่ผู้รับบำเหน็จบำนาญ
               ข้อ ๔ ในกรณีที่ข้าราชการทหารซึ่งมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือตามข้อ ๓ ถึงแก่ความตายก่อนได้รับเงินช่วยเหลือ ให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้มีสิทธิรับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
               ข้อ ๕ ภายในระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ หากปรากฏว่าข้าราชการทหารซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะ ต้องห้ามลักษณะหนึ่งลักษณะใดตามข้อ ๒ ข้าราชการทหารผู้นั้นไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินช่วยเหลือตามข้อ ๓ และให้ส่วนราชการที่อนุญาตให้ลาออกจากราชการเรียกเงินช่วยเหลือคืน โดยผู้นั้นต้องคืนเงินช่วยเหลือภายในเวลาและตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กระทรวงการคลังกำหนด
              ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งประสงค์จะกลับ เข้ารับราชการ และมิใช่กรณีที่เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๒ (๓) หรือ (๔) ให้หัวหน้าส่วนราชการซึ่งอนุญาตให้ลาออกจากราชการ สั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ผู้นั้นดำรงตำแหน่งและรับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดิม แต่ไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนเงินอื่นที่จ่ายเป็นรายเดือน และสิทธิประโยชน์อย่างอื่นที่ทางราชการให้แก่ผู้นั้นในระหว่างที่ไม่ได้ปฏิบัติราชการ
              ข้อ ๖ ภายใต้บังคับข้อ ๕ ผู้ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือตามข้อ ๓ แล้ว หากกลับเข้าเป็นข้าราชการประจำในส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือกำกับ ของฝ่ายบริหาร หรือส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอีก ให้ผู้นั้นส่งคืนเงินช่วยเหลือที่ได้รับไว้ทั้งหมด พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝากประจำสิบสองเดือนของธนาคารออมสินตามหลัก เกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
              ข้อ ๗ ให้นำความในข้อ ๖ มาใช้บังคับกับผู้ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือตามข้อ ๓ แล้ว และต่อมาได้รับการบรรจุเป็นพนักงานราชการหรือพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา โดยอนุโลม ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่สัญญาจ้างมีระยะเวลาเกินหนึ่งปี โดยให้นับรวมระยะเวลาการต่ออายุสัญญาจ้างด้วย
              เพื่อประโยชน์แห่งข้อนี้ พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาหมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างให้ทำงานในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษาที่เป็นนิติบุคคล ทั้งที่เป็นส่วนราชการและที่เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ โดยผู้นั้นได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินรายได้ ของสถานศึกษาของรัฐนั้น
              ข้อ ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามประกาศนี้
              ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
                        ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗


ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๓/๒๕๕๗
เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับเครื่องเล่นเกมที่สามารถใช้หรือนำมาประกอบเพื่อใช้เล่นการพนัน
        ตามที่ได้มีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๒๔/๒๕๕๗ เรื่อง ห้ามให้มีการเล่นการพนันที่ผิดกฏหมาย ลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งสั่งการให้กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพิ่มมาตรการและความเข้มข้นในการกำกับดูแลมิให้มีการเล่นพนันที่ผิดกฏหมายทุกประเภทในพื้นที่รับผิดชอบ นั้น โดยที่ได้มีการตรวจพบว่ามีเครื่องเล่นเกม ส่วนประกอบ หรืออุปกรณ์ประกอบของเครื่องเล่นเกมชนิดต่างๆ อยู่เป็นจำนวนมากที่มีลักษณะหรืออยู่ในสภาพที่สามารถใช้หรือนำไปประกอบเพื่อใช้เล่นการพนันได้ ซึ่งกรณีเช่นนี้อาจส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนรวมทั้งเป็นเหตุในการมอมเมาเยาวชน คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
       ข้อ ๑ ในประกาศนี้ "เครื่องเล่นเกม" หมายความว่า
            (๑) สล็อทแมชีน (Slot Machine) หรือเครื่องเล่นที่คล้ายกัน
            (๒) ตู้ม้าแข่งหรือสนามม้าแข่งจำลอง หรือเครื่องเล่นที่คล้ายกัน
            (๓) ปาชิงโกะ (Pachinko) หรือเครื่องเล่นที่คล้ายกัน
            (๔) รูเล็ท (Roulette) หรือเครื่องเล่นที่คล้ายกัน
            (๕) เครื่องเล่นที่ทำงานโดยใช้เหรียญ ธนบัตร เงินตรา บัตร หรือสิ่งอื่นที่คล้ายกัน หรือทำงานโดยวิธีการอื่นใด ที่มีวิธีการเล่นไม่ว่าจะอาศัยทักษะหรือความสามารถของผู้เล่นประกอบการเล่นหรือไม่ก็ตาม หากผู้เล่นชนะหรือสามารถทำได้ตามข้อกำหนดของเครื่องเล่นที่ระบุไว้จะมีเหรียญ ธนบัตร เงินตรา บัตร หรือสิ่งอื่นใด ออกมาจากเครื่องเล่นเกมนั้น ทั้งนี้ไม่รวมถึงเครื่องอุปกรณ์โบว์ลิ่ง
            (๖) ส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ประกอบประเภทชิพ (chip) ที่ระบุตัวเลขใช้แทนเงินตราในการเล่นเกมกับเครื่องเล่นเกมตาม (๑) ถึง (๕) หรือ
            (๗) ส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ประกอบของเครื่องเล่นเกมตาม (๑) ถึง (๕)
      ข้อ ๒ ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยมีอำนาจยึดและทำการตรวจสอบเครื่องเล่นเกม หากพบว่ามีลักษณะที่สามารถใช้หรือนำมาประกอบเพื่อใช้เล่นการพนันได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเล่นเกมที่ผลิตและนำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือผลิตในราชอาณาจักร ให้เครื่องเล่นเกมนั้นตกเป็นของแผ่นดิน เว้นแต่เจ้าของกรรมสิทธิ์ได้แสดงตน และสามารถแสดงหลักฐานว่าเครื่องเล่นเกมที่ถูกยึดนั้นมีไว้โดยชอบด้วยกฏหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ถูกยึด
      ข้อ ๓ เครื่องเล่นเกมที่ได้ถูกยึดไว้ตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ จนถึงวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ตกเป็นของแผ่นดิน เว้นแต่เจ้าของกรรมสิทธิ์ได้แสดงตนและสามารถแสดงหลักฐานว่าเครื่องเล่นเกมที่ถูกยึดนั้นมีไว้โดยชอบด้วยกฏหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
      ข้อ ๔ ให้หัวหน้าส่วนราชการของเจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจยึดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายมีอำนาจอนุมัติให้ทำลายเครื่องเล่นเกมที่ตกเป็นของแผ่นดินตามข้อ ๒ หรือ ข้อ ๓ เว้นแต่พนักงานสอบสวนเห็นว่าเครื่องเล่นเกมนั้นมีความจำเป็นต้องเก็บรักษาไว้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีในชั้นศาลกับผู้กระทำความผิดตามข้อ ๕
      ข้อ ๕ การดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเครื่องเล่นเกมตามประกาศนี้ให้เป็นไปตามกฏหมายว่าด้วยการนั้น
      ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  ฉบับที่ ๘๔/๒๕๕๗
เรื่อง ให้ผู้ที่ครอบครองอาวุธปืน เสื้อเกราะ หรือเครื่องยุทธภัณฑ์ ของทางราชการทหาร นำส่งมอบ
        ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อระหว่างวันที่ ๑๐ เมษายน ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓ ที่บริเวณพื้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า สะพานผ่านฟ้าลีลาศ สี่แยกคอกวัว ถนนดินสอ สะพานมัฆวานรังสรรค์ สะพานเทวกรรมรังรักษ์ ทำเนียบรัฐบาล สามเหลี่ยมดินแดง ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จนเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงขึ้น และเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารต้องใช้กำลังเข้าระงับยับยั้งจนถูกกลุ่มผู้ชุมนุมเข้ายื้อยุดแย่งชิงเอาอาวุธปืนเล็กยาว เอ็ม ๑๖ อาวุธปืนเล็กยาวแบบ ๕๐ ทราโว่ อาวุธปืนลูกซอง อาวุธปืนพก ปพ.๘๖ ขนาด ๑๑ มม. เสื้อเกราะ และเครื่องยุทธภัณฑ์ ของทางราชการทหารไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาวุธปืน เสื้อเกราะ และเครื่องยุทธภัณฑ์ดังกล่าว หากผู้ใดมีไว้ในครอบครองจะเป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน และกฎหมายควบคุมยุทธภัณฑ์ มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงตลอดชีวิต เพื่อให้การรักษาความสงบและแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
        ข้อ ๑ ให้ผู้ที่ครอบครองอาวุธปืน เสื้อเกราะ หรือเครื่องยุทธภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้นนำส่งมอบต่อนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ภายในวันที่ ๓๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
        ข้อ ๒ ให้ผู้ที่ปฏิบัติตามข้อ ๑ ไม่ต้องรับโทษทางอาญาตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน และกฎหมายควบคุมยุทธภัณฑ์
        ข้อ ๓ ผู้ที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑ ให้มีความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
        ข้อ ๔ ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับแก่ผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน และบทบัญญัติกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถูกจับกุม หรือตกเป็นผู้ต้องหา หรือจำเลย ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และอยู่ในระหว่างการสอบสวน หรือคดียังไม่ถึงที่สุด
        ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
        ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  ฉบับที่ ๘๕/๒๕๕๗
เรื่อง  การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว
           เนื่องจากในปัจจุบันมีสมาชิกสภาท้องถิ่นและ ผู้บริหารท้องถิ่นหลายแห่งที่ได้ครบวาระหรือว่างลงหรือมีกรณีสิ้นสุดสมาชิก ภาพ ซึ่งมีความจำเป็นต้องได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อ ทำหน้าที่บริหารงานและดูแลจัดทำบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนใน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่โดยที่สถานการณ์ในปัจจุบันยังไม่อาจจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้อง ถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นได้โดยเรียบร้อย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
           
ข้อ ๑ ในกรณีที่สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นดำรงตำแหน่งครบวาระหรือพ้น จากตำแหน่งเพราะเหตุอื่นใดนอกจากครบวาระ ให้งดการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตาม กฎหมายว่าด้วยการนั้นไปก่อนจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงโดยในระหว่างนี้ให้ ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามที่ กำหนดไว้ในประกาศนี้
           
สภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดที่มีสมาชิก สภาเหลืออยู่ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาทั้งหมด ให้ถือว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาที่เหลืออยู่นั้นเป็นอันสิ้นสุดลงนับแต่วัน ที่จำนวนสมาชิกสภาเหลือไม่ถึงกึ่งหนึ่ง
           
ข้อ ๒ เพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นในระหว่างที่ยังไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง สมาชิกสภาท้องถิ่นตามข้อ ๑ ให้ใช้วิธีคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้และความสามารถด้านการบริหารงานท้องถิ่น การคลังท้องถิ่น การศึกษาท้องถิ่น การอนามัยและสาธารณสุข กฎหมาย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น โยธาธิการ ผังเมือง หรือโครงสร้างพื้นฐาน หรือด้านอื่นตามที่คณะกรรมการสรรหาเห็นสมควร โดยอย่างน้อยสองในสามของจำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่นทั้งหมดต้องเป็นข้าราชการ หรือเคยเป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับชำนาญการพิเศษ หรือระดับ ๘ หรือเทียบเท่าขึ้นไป ทั้งนี้ให้คำนึงถึงพฤติกรรม คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และความเป็นกลางทางการเมืองเป็นที่ประจักษ์ ของผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกด้วย
           
ข้อ ๓ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทประกอบด้วยจำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่น ดังต่อไปนี้
            (
๑) องค์การบริหารส่วนตำบลมีสมาชิกสภาจำนวนสิบคน
            (
๒) เทศบาลทุกประเภทมีสมาชิกสภาจำนวนสิบสองคน
            (
๓) องค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละแห่งมีจำนวนสมาชิกสภากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิก สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้งหมดที่มีอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้ บังคับ
           
ข้อ ๔ สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
            (
๑) มีสัญชาติไทย
            (
๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์นับถึงวันประกาศแต่งตั้ง
            (
๓) จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
            (
๔) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้ บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้ มิให้นำมาตรา ๔๕ (๑๒ ) (๑๓) และ ( ๑๔) แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๕ มาใช้บังคับ และ
            (
๕) รับราชการในเขตจังหวัดในระดับตำแหน่งตั้งแต่ระดับชำนาญการพิเศษ หรือระดับ ๘ หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือ 
            (
๖) เคยรับราชการในเขตจังหวัดในระดับตำแหน่งตั้งแต่ระดับชำนาญการพิเศษ หรือระดับ ๘ หรือเทียบเท่าขึ้นไป และต้องพ้นหรือออกจากราชการแล้ว หรือ
            (
๗) เป็นบุคคลในเขตจังหวัดนั้นและดำรงตำแหน่งประธานหรือหัวหน้าองค์กรภาคเอกชน หรือภาคประชาชนที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีการจดทะเบียนไว้กับส่วนราชการหรือ มีหนังสือรับรองจากส่วนราชการ
           
ข้อ ๕ เมื่อมีกรณีต้องเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่น ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่งทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลตามข้อ ๒ ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ อัยการจังหวัดคนหนึ่งซึ่งอัยการสูงสุดมอบหมาย ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด (ฝ่ายทหาร) และประธานสภาหอการค้าจังหวัดหรือประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดหรือประธานสภา ทนายความประจำจังหวัดซึ่งคัดเลือกกันเองให้เหลือหนึ่งคนเป็นกรรมการ
           
ให้ท้องถิ่นจังหวัดเป็นเลขานุการคณะกรรมการสรรหา
           
ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจ ดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้ บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการสรรหาโดยอนุโลม
           
ในกรณีที่ไม่มีกรรมการสรรหาในตำแหน่งใด ให้กรรมการสรรหาประกอบด้วยกรรมการสรรหาเท่าที่มีอยู่
           
ให้คณะกรรมการสรรหาดำเนินการคัดเลือกให้ แล้วเสร็จภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่มีเหตุให้มีการเลือกสมาชิกสภาท้อง ถิ่น ในการนี้ คณะกรรมการสรรหาจะเสนอชื่อตนเองเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นมิได้
           
ข้อ ๖ เมื่อได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นแล้ว ให้ประธานคณะกรรมการสรรหาประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นภายในสามวัน และให้ถือว่าผู้ที่ได้รับการประกาศแล้วนั้นเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นตามกฎหมาย ว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นนับแต่วันประกาศแต่งตั้ง
           
ข้อ ๗ ในกรณีที่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดกำหนดให้การมาดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น ตามประกาศนี้เป็นเหตุให้ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นต้องเสีย สิทธิหรือเป็นข้อห้ามหรือเป็นเหตุให้ขาดคุณสมบัติหรือเป็นลักษณะต้องห้าม มิให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นมาใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็น สมาชิกสภาท้องถิ่นตามประกาศนี้
           
เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานและดูแลจัดทำ บริการสาธารณะในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น มิให้ถือว่าการเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นของข้าราชการหรือผู้เคยเป็นข้าราชการ เป็นการดำเนินกิจการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ ส่วนรวมหรือเป็นการกระทำอันอาจถูกกล่าวหาได้ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารใน การป้องกันและปราบปรามการทุจริต
           
ข้อ ๘ ให้สมาชิกสภาท้องถิ่นที่ได้รับแต่งตั้งตามประกาศนี้ดำรงตำแหน่งว่าจนกว่าจะ มีการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นที่ได้รับเลือกตั้งใหม่เข้า รับหน้าที่ในระหว่างนี้มิให้นำบทบัญญัติว่าด้วยวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิก สภาท้องถิ่นตามกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับ
           
ข้อ ๙ สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมใน สัญญาที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นคู่สัญญาหรือในกิจการที่กระทำให้ แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นหรือที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นจะ กระทำ
           
ข้อ ๑๐ ภายใต้บังคับข้อ ๑ วรรคหนึ่ง ในกรณีที่สมาชิกสภาท้องถิ่นที่ได้รับแต่งตั้งตามประกาศนี้ว่างลง ให้สภาท้องถิ่นประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่เหลืออยู่โดยไม่ต้องดำเนินการคัด เลือกสมาชิกสภาท้องถิ่นแทนตำแหน่งที่ว่าง
           
ในกรณีที่สมาชิกสภาท้องถิ่นที่ดำรงตำแหน่ง อยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับว่างลง ให้สภาท้องถิ่นประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่เหลืออยู่โดยไม่ต้องดำเนินการเลือก ตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นแทนตำแหน่งที่ว่าง
           
ข้อ ๑๑ ในกรณีผู้บริหารท้องถิ่นครบวาระหรือว่างลง ให้ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปฏิบัติหน้าที่นายกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
           
ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การบริหารงานบุคคล เรื่องใดเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารท้องถิ่น ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะทำหน้าที่ตามวรรคหนึ่งได้ต่อเมื่อได้รับความ เห็นชอบจากคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด คณะกรรมการพนักงานเทศบาลหรือคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล แล้วแต่กรณีก่อน
           
ข้อ ๑๒ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามประกาศนี้ และให้มีอำนาจออกกฎ ระเบียบ และข้อบังคับเพื่อปฏิบัติตามประกาศนี้
           ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
           ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช  ๒๕๕๗

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  ฉบับที่ ๘๖/๒๕๕๗
เรื่อง  การได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตเป็นการชั่วคราว
           เนื่องจากในปัจจุบันมีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตที่ได้ครบวาระ หรือว่างลงหรือมีกรณีสิ้นสุดสมาชิกภาพ ซึ่งมีความจำเป็นต้องได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขต เพื่อทำหน้าที่บริหารงานและดูแลจัดทำบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชน ในกรุงเทพมหานคร แต่โดยที่สถานการณ์ในปัจจุบันยังไม่อาจจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา กรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตได้โดยเรียบร้อย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
           ข้อ ๑ ในกรณีที่สมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตดำรงตำแหน่งครบวาระหรือพ้น จากตำแหน่งเพราะเหตุอื่นใดนอกจากครบวาระ ให้งดการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตตาม กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครไปก่อนจนกว่าจะมีประกาศ เปลี่ยนแปลง โดยในระหว่างนี้ให้ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามที่ กำหนดไว้ในประกาศนี้
           
ข้อ ๒ เพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในระหว่างที่ยังไม่มีผู้ดำรง ตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามข้อ ๑ ให้ใช้วิธีการคัดเลือกบุคคลจำนวนสามสิบคน ประกอบด้วย ผู้ที่มีความรู้และความสามารถด้านการบริหารงานท้องถิ่น การคลังท้องถิ่น การศึกษาท้องถิ่น การอนามัยและสาธารณสุข กฎหมาย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น โยธาธิการ ผังเมือง โครงสร้างพื้นฐาน หรือด้านอื่นตามที่คณะกรรมการสรรหาเห็นสมควร โดยอย่างน้อยสองในสามของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ต้องเป็นข้าราชการหรือเคยเป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับนักบริหารระดับสูง หรือระดับ ๑๐ หรือเทียบเท่าขึ้นไป ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงพฤติกรรม คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และความเป็นกลางทางการเมืองเป็นที่ประจักษ์ ของผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกด้วย
           
ข้อ ๓ สมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
            (
๑) มีสัญชาติไทย
            (
๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์นับถึงวันประกาศแต่งตั้ง
            (
๓) จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
            (
๔) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ มิให้นำมาตรา ๑๖ (๗) (๘) และ (๙) และมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๒๘ มาใช้บังคับ และ
            (
๕) รับราชการในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในระดับตำแหน่งตั้งแต่นักบริหารระดับสูง หรือระดับ ๑๐ หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือ
            (
๖) เคยรับราชการในเขตพื้่นที่กรุงเทพมหานคร ในระดับตำแหน่งตั้งแต่นักบริหารระดับสูง หรือระดับ ๑๐ หรือเทียบเท่าขึ้นไป และต้องพ้นหรือออกจากราชการแล้ว หรือ
            (
๗) เป็นบุคคลในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และดำรงตำแหน่งประธานหรือหัวหน้าองค์กรภาคเอกชนหรือภาคประชาชนที่เรียกชื่อ อย่างอื่น ที่มีการจดทะเบียนไว้กับส่วนราชการหรือที่มีหนังสือรับรองจากส่วนราชการ
           
ข้อ ๔ เมื่อมีกรณีต้องเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลตามข้อ ๒ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานกรรมการ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือผู้แทน อัยการสูงสุดหรือผู้แทน เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรหรือผู้แทน ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หรือประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือนายกสภาทนายความแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งคัดเลือกกันเองให้เหลือหนึ่งคน เป็นกรรมการ
           
ให้อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ผู้อำนวยการสำนักงานปกครองและทะเบียน กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ช่วยเลขานุการ 
           
ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตาม กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการสรรหาโดยอนุโลม
           
ในกรณีที่ไม่มีกรรมการสรรหาในตำแหน่งใด ให้กรรมการสรรหาประกอบด้วยกรรมการสรรหาเท่าที่มีอยู่
           
ให้คณะกรรมการสรรหาดำเนินการคัดเลือกให้แล้วเสร็จภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่ วันที่มีเหตุให้มีการเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ในการนี้ คณะกรรมการสรรหาจะเสนอชื่อตนเองเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครมิได้
           
ข้อ ๕ เมื่อได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครแล้ว ให้ประธานคณะกรรมการสรรหาประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครภายในสามวัน และให้ถือว่าผู้ที่ได้รับการประกาศแต่งตั้งนั้น เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหา นคร นับแต่วันประกาศแต่งตั้ง
           
ข้อ ๖ ในกรณีที่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดกำหนดให้การมาดำรงตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพ มหานครตามประกาศนี้เป็นเหตุให้ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ต้องเสียสิทธิหรือเป็นข้อห้ามหรือเป็นเหตุให้ขาดคุณสมบัติหรือเป็นลักษณะ ต้องห้าม มิให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นมาใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็น สมาชิกสภากรุงเทพมหานครประกาศนี้
           
เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานและดูแลจัดทำบริการสาธารณะในกรุงเทพมหานคร มิให้ถือว่าการเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครของข้าราชการหรือผู้เคยเป็นข้า ราชการเป็นการดำเนินกิจการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและ ประโยชน์ส่วนรวมหรือเป็นการกระทำอันอาจ ถูกกล่าวหาได้ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริต
           
ข้อ ๗ ให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่ได้รับแต่งตั้งตามประกาศนี้ดำรงตำแหน่งจนกว่า จะมีการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ บริหารราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่ได้รับเลือกตั้งใหม่ เข้ารับหน้าที่ ในระหว่างนี้ มิให้นำบทบัญญัติว่าด้วยวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตาม กฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับ
           
ข้อ ๘ สมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทาง อ้อมในสัญญาที่กรุงเทพมหานครเป็นคู่สัญญาหรือในกิจการที่กระทำให้แก่กรุงเทพ มหานครหรือที่กรุงเทพมหานครจะกระทำ
           
ข้อ ๙ ภายใต้บังคับข้อ ๑ วรรคหนึ่ง ในกรณีที่สมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่ได้รับแต่งตั้งตามประกาศนี้ว่างลง ให้สภากรุงเทพมหานครประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่เหลืออยู่โดยไม่ต้องดำเนินการ คัดเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครแทนตำแหน่งที่ว่าง
           
ข้อ ๑๐ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามประกาศนี้ และให้มีอำนาจออกกฎ ระเบียบ และข้อบังคับเพื่อปฏิบัติตามประกาศนี้
           ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
           ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช  ๒๕๕๗

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  ฉบับที่ ๘๗/๒๕๕๗
เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ
        โดยที่พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ กำหนดให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจเกี่ยวกับการดูแลความสงบเรียบร้อยในการควบคุมอาชญากรรม การจราจร การมีและใช้อาวุธปืนเป็นไปอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ มีเอกภาพ ในระบบการปฏิบัติงานและในการบังคับใช้กฎหมาย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ จึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
       ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมกับค่าทำการและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ไม่เกินอัตราตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้และกำหนดกิจกรรมอื่น เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้”
       ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานจราจร กับออกกฎกระทรวงกำหนดกิจการอื่น เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้”
       ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งและวรรคสองของมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.๒๔๙๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
              "มาตรา ๖ ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งนายทะเบียนและเจ้าหน้าที่อื่น และออกกฏกระทรวงในเรื่องต่อไปนี้ คือ
               (๑) จำกัดชนิดและจำนวนอาวุธปืนของกระทรวงทบวงกรมอื่น นอกจากของราชการทหารและตำรวจหรือหน่วยราชการตามมาตรา ๕ วรรคสอง
               (๒) วางระเบียบการทะเบียน การขอและการออกใบอนุญาต
               (๓) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมซึ่งต้องไม่เกิดอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
               (๔) กิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
               ในส่วนที่เกี่ยวกับการออกกฎกระทรวงตามวรรคหนึ่ง (๑) ตามมาตรา ๕ วรรคสอง และตามมาตรา ๕๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมร่วมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงร่วมกับนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยด้วย"
       ข้อ ๔ ให้บรรดา กฎกระทรวง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่ง ที่ออกตามพระราชบัญญัติตามข้อ ๑ ข้อ ๒ และข้อ ๓ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปจนกว่าจะมีการแก้ไขเพิ่มเติม
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  ฉบับที่ ๘๘/๒๕๕๗
เรื่อง  การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ
        โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ เพื่อปรับปรุงระบบการบริหารงานบุคคลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้เกิดประสิทธิภาพ คล่องตัว เชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานด้านความมั่นคง และการอำนวยความยุติธรรม อันจะส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนโดยส่วนรวม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
        ข้อ 1. ให้ยกเลิกความ ม.17 พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 และให้ข้อความต่อไปนี้แทน
                 "ม.17 ให้ ก.ต.ช.ประกอบด้วย
                          (1) นายกฯ เป็นประธานกรรมการ
                          (2) รองนายกฯ ซึ่งนายกฯ มอบหมายเป็นรองประธานกรรมการ
                          (3) ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม และ ผอ.สำนักงานงบประมาณ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง                
                          (4) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้รับเลือกจากวุฒิสภา จำนวน 2 คน
                          ให้ ผบ.ตร. เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ประธานกรรมการโดยคำแนะนำของ ผบ.ตร. แต่งตั้งข้าราชการตำรวจยศ พล.ต.ต.ขึ้นไป จำนวนไม่เกิน 2 คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ"
          2. ให้ยกเลิกความใน (3) ของ ม.18 แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                   "(3) พิจารณาดำเนินการคัดเลือกข้าราชการตำรวจเพื่อดำเนินการแต่งตั้ง ผบ.ตร. ตามที่ ผบ.ตร. เสนอ"
          3. ให้ยกเลิกความในมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                   "มาตรา 30 ให้มีคณะกรรมการข้าราชการตำรวจคณะหนึ่ง เรียกย่อว่า ก.ตร. ประกอบด้วย
                           (1) นายกฯ เป็นประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ
                           (2) ผบ.ตร. เป็นรองประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ
                           (3) เลขาธิการ ก.พ. จเรตำรวจแห่งชาติ  และ รอง ผบ.ตร. เป็นกรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่ง
                           (4) กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้รับการ คัดเลือกจากวุฒิสภา จำนวน 2 คน
                           ให้ผู้บัญชาการสำนักงานข้าราชการตำรวจเป็นเลขานุการ และรองผู้บัญชาการฯ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ"
          4. ให้ยกเลิกความใน (1) ของ ม.53 แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                     "(1) การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 44 (1) ให้ ผบ.ตร. คัดเลือกรายชื่อข้าราชการตำรวจที่ดำรงตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาติ หรือ รอง ผบ.ตร. แล้วเสนอ ก.ต.ช. เพื่อพิจารณาเห็นชอบก่อน แล้วให้นายกฯ นำกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง"
          5. ให้ยกเลิกความใน ม.54 แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                     "ม.54 การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ม.44 (5) ลงมา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
                            (1) การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตาม ม.44 (5) และ (6) ให้ดำเนินการดังนี้
                                (ก) ในสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ ผบ.ตร. คัดเลือกรายชื่อข้าราชการตำรวจในสำนักงานฯ เสนอ ก.ตร. พิจารณาเห็นชอบก่อน แล้วให้นายกฯ นำกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
                                (ข) ในกองบัญชาการที่ไม่ได้สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้บัญชาการคัดเลือกรายชื่อข้าราชการตำรวจในกองบัญชาการนั้นเสนอ ผบ.ตร. พิจารณาเสนอ ก.ตร. เห็นชอบก่อน แล้วให้นายกฯ นำกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
                           (2) การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ให้ดำรงตำแหน่งตาม ม.44 (7) และ (8) ให้ดำเนินการดังนี้
                                (ก) ในสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ ผบ.ตร. คัดเลือกรายชื่อข้าราชการตำรวจในสำนักงานฯ เสนอ ก.ตร. เพื่อพิจารณา เห็นชอบก่อน แล้วให้ ผบ.ตร. เป็นผู้ออกคำสั่งแต่งตั้ง
                                (ข) ในกองบัญชาการที่ไม่ได้สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้บัญชาการคัดเลือกรายชื่อข้าราชการตำรวจในกองบัญชาการนั้นเสนอ ผบ.ตร. พิจารณาเสนอ ก.ตร. เห็นชอบก่อน แล้วให้ผู้บัญชาการเป็นผู้ออกคำสั่งแต่งตั้ง
                           (3) การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตาม ม.44 (9) ลงมา ในสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ ผบ.ตร เป็นผู้สั่งแต่งตั้ง  ส่วนในกองบัญชาการที่ไม่ได้สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้บัญชาการเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง
                           ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งจากส่วนราชการหนึ่งไปอีกส่วนราชการหนี่ง ให้หัวหน้าส่วนราชการตกลงกัน แล้วให้หัวหน้าส่วนราชการที่ประสงค์จะแต่งตั้งเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการตาม (1) (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี"
             6. ให้ยกเลิกความใน ม.33 ถึง ม.41  ม.55 และ ม.57 วรรค 2 และวรรค 3 แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547
             7. ให้ ก.ต.ช. และ ก.ตร. ซึ่งดำรงตำแหน่งก่อนประกาศใช้บังคับ พ้นจากตำแหน่ง
             8. ในระหว่างที่ยังไม่มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม ม.17 (4) ให้ ก.ต.ช. ประกอบด้วย นายกฯ เป็นประธาน  รองนายกฯ ซึ่งนายกฯ มอบหมาย เป็นรองประธาน  ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม และ ผอ.สำนักงบประมาณ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และ ให้ ผบ.ตร.เป็นกรรมการและเลขานุการ
             9. ในระหว่างที่ยังไม่มีกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตาม ม.30 (4) ให้ ก.ตร. ประกอบด้วย นายกฯ เป็นประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ   ผบ.ตร. เป็นรองประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ   เลขาธิการ ก.พ.  จเรตำรวจฯ และ รอง ผบ.ตร.เป็นกรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่ง
            10. การใดอยู่ระหว่างดำเนินการตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่การดำเนินการยังไม่แล้วเสร็จ ให้ ก.ต.ช.ตามข้อ 1 หรือ ก.ตร.ตามข้อ 3 แล้วแต่กรณีพิจารณาดำเนินการตามสมควร
             ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
             ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 89/2557
เรื่อง  หลักเกณฑ์การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
        เพื่อให้การแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ เป็นไปตามระบบคุณธรรมและคำนึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคล ตลอดจนประโยชน์ของทางราชการ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
        ข้อ 1 เพื่อประโยชน์ในการแต่งตั้งและโยกย้าย ให้จัดลำดับอาวุโส ดังต่อไปนี้
            (1) ผู้มียศสูงกว่า (ไม่รวมถึงยศที่ได้รับจากการแต่งตั้งเป็นกรณีพิเศษ) เป็นผู้มีลำดับอาวุโสสูงกว่า
            (2) ถ้ามียศเท่ากัน ให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งระดับนั้นในกรมตำรวจและสำนักงานตำรวจแห่งชาตินานกว่า เป็นผู้มีลำดับอาวุโสสูงกว่า
            (3) ถ้าดำรงตำแหน่งตาม (2) นานเท่ากัน ให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งระดับถัดลงไปนานกว่าตามลำดับจนถึงตำแหน่งระดับรองสารวัตร เป็นผู้มีลำดับอาวุโสสูงกว่า
                  ตำแหน่งถัดลงไปให้หมายความรวมถึงตำแหน่งระดับผู้ช่วยผู้บัญชาการและสารวัตรใหญ่ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2521 ด้วย
            (4) ถ้าดำรงตำแหน่งระดับถัดลงไปตาม (3) นานเท่ากัน ให้ผู้ที่มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งชั้นสัญญาบัตรนานกว่า เป็นผู้มีลำดับอาวุโสสูงกว่า
            (5) ถ้ามีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งชั้นสัญญาบัตรนานเท่ากัน ให้ผู้ที่มีอายุมากกว่าเป็นผู้มีลำดับอาวุโสสูงกว่า
            สำหรับข้าราชการตำรวจที่ถูกประจำหรือสำรองราชการในระดับตำแหน่งใด ให้ถือว่ายังคงดำรงตำแหน่งระดับนั้นตลอดระยะเวลาที่ประจำหรือสำรองราชการ
            ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งให้หมายความรวมถึงระยะเวลาการปฏิบัติงานเป็นทวีคูณของข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการตามหลักเกณฑ์การนับระยะเวลาการปฏิบัติงานเป็นทวีคูณของข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามมติ ก.ตร. ในการประชุมครั้งที่ 4/2553 เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2553 ในระดับตำแหน่งนั้นๆ ด้วย
            ข้อ 2 การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งตามประกาศนี้ มิให้นำระยะเวลาการดำรงตำแหน่งรวมตั้งแต่ระดับรองสารวัตรตามกฎ ก.ตร. ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับ สารวัตร ถึงจเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2549 มาใช้บังคับ ทั้งนี้จนกว่าจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎ ก.ตร. หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง
            ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
            ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  ฉบับที่ ๙๐/๒๕๕๗
เรื่อง การจัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เพิ่มเติม
       โดยที่ข้อ 4 ของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๐/๒๕๕๗ เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ กำหนดให้จัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จในทุกจังหวัด โดยการจัดตั้งในจังหวัดอื่นใดและเริ่มทำการเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประกาศกำหนด คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
               ข้อ ๑ ให้จัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ตามข้อ ๔ ของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๐/๒๕๕๗ เรื่อง มาตราการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เพิ่มเติมในกรุงเทพมหานคร จำนวน ๖ แห่ง ณ สถานที่ตั้ง ดังนี้
                   (๑) ศูนย์กีฬารามอินทรา เขตบางเขน
                   (๒) ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง
                   (๓) ศาลาประชาคมเมืองมีนถิ่นทอง เขตมีนบุรี
                   (๔) ศูนย์เยาวชนลุมพินี เขตปทุมวัน
                   (๕) ศูนย์เยาวชนทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา
                   (๖) ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา (บางบอน) เขตบางบอน
                         ทั้งนี้ ให้เริ่มทำการตั้งแต่วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๗
              ข้อ ๒ ให้กระทรวงมหาดไทยและกรุงเทพมหานครมีหน้าที่รับผิดชอบในการอำนวยความสะดวกในการดำเนินการของศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จที่จัดตั้งตามข้อ ๑ โดยปฏิบัติงานร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
              ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
              ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

                   พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
              หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ