เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการปฏิบัติภารกิจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดทางอาญา การรักษาความสงบเรียบร้อย และการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้เกิดประสิทธิภาพ เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละท้องถิ่้นและชุมชน โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรภาคเอกชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๗ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดระบบการบริหาร การปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา การรักษาความสงบเรียบร้อย และการรักษาความปลอดภัยของประชาชนให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละท้องถิ่นและชุมชน โดยต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรภาคเอกชนมีส่วนร่วม ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบาย งบประมาณและอาสาสมัคร ตลอดจนการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานตำรวจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ต.ช. กำหนด
การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรภาคเอกชนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรภาคเอกชนนั้น"
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557
ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 112/2557
เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๒
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
พ.ศ. ๒๕๔๒
เพื่อให้การดำเนินการในการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด
คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “คณะกรรมการ” ในข้อ ๔ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลหรือข่าวสารการกระทำที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๙ ให้คณะกรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการจเรตำรวจแห่งชาติ เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เจ้ากรมพระธรรมนูญ ผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เป็นกรรมการ
ให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเป็นกรรมการและเลขานุการและให้แต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจำนวนสองคนเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ ๑๑ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๑๑ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑) กำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปล่อยปละละเลยหรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
(๒) ตรวจสอบ กลั่นกรอง และแสวงหาข้อเท็จจริงเบื้องต้น เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
(๓) พิจารณากรณีที่มีการกล่าวหาร้องเรียน หรือข้อมูลหรือข่าวสารที่ได้รับจากแหล่งข่าวเพื่อวินิจฉัยเบื้องต้นซึ่งพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(๔) เชิญผู้แทนหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนมาชี้แจง ส่งข้อมูลหรือเอกสารมาเพื่อประกอบการพิจารณา และอาจร้องขอให้บุคคลใดมาให้ถ้อยคำ
(๕) ส่งข้อมูลเกี่ยวกับพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือข้อมูลเกี่ยวกับการจับกุมตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด ไปยังผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้มีการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ตลอดจนติดตามการดำเนินการดังกล่าว
(๖) ติดตาม กวดขัน และสอดส่องดูแล การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐเพื่อป้องกันมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
(๗) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานได้ตามความเหมาะสม”
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “คณะกรรมการ” ในข้อ ๔ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลหรือข่าวสารการกระทำที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด”
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๙ ให้คณะกรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการจเรตำรวจแห่งชาติ เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เจ้ากรมพระธรรมนูญ ผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เป็นกรรมการ
ให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเป็นกรรมการและเลขานุการและให้แต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจำนวนสองคนเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ”
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ ๑๑ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๑๑ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑) กำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปล่อยปละละเลยหรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
(๒) ตรวจสอบ กลั่นกรอง และแสวงหาข้อเท็จจริงเบื้องต้น เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
(๓) พิจารณากรณีที่มีการกล่าวหาร้องเรียน หรือข้อมูลหรือข่าวสารที่ได้รับจากแหล่งข่าวเพื่อวินิจฉัยเบื้องต้นซึ่งพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(๔) เชิญผู้แทนหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนมาชี้แจง ส่งข้อมูลหรือเอกสารมาเพื่อประกอบการพิจารณา และอาจร้องขอให้บุคคลใดมาให้ถ้อยคำ
(๕) ส่งข้อมูลเกี่ยวกับพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือข้อมูลเกี่ยวกับการจับกุมตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด ไปยังผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้มีการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ตลอดจนติดตามการดำเนินการดังกล่าว
(๖) ติดตาม กวดขัน และสอดส่องดูแล การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐเพื่อป้องกันมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
(๗) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานได้ตามความเหมาะสม”
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 113/2557
เรื่อง การยกเว้นภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร กรณีสลากพิเศษแบบเลขท้าย ๓ ตัว และ ๒ ตัว
โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นภาษีเงินได้
สำหรับผู้มีเงินได้จากการขายหรือส่วนลดจากการซื้อสลากพิเศษและจากเงินรางวัลสลากพิเศษ
แบบเลขท้าย ๓ ตัว และ ๒ ตัว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๙
เนื่องจากในช่วงเวลานั้นยังไม่มีการกำหนดยกเว้นภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
ผู้มีเงินได้จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ ดังนั้น
เพื่อเป็นการบรรเทาภาระและเยียวยาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนซึ่งเป็นผู้จำหน่ายสลากพิเศษหรือเป็นผู้ถูกรางวัลสลากพิเศษในกรณีดังกล่าว
คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน ๒ และส่วน ๓ หมวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเงินรางวัลสลากพิเศษแบบเลขท้าย ๓ ตัว และ ๒ ตัว ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งผู้มีเงินได้ยอมให้ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ ๑.๐ ของเงินรางวัล โดยไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืน หรือไม่ขอเครดิตภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
ข้อ ๒ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน ๒ และส่วน ๓ หมวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับการขายหรือส่วนลดจากการซื้อสลากพิเศษแบบเลขท้าย ๓ ตัว และ ๒ ตัว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งผู้มีเงินได้ยอมให้ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ ๑.๐ ของเงินได้โดยไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืน หรือไม่ขอเครดิตภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
ข้อ ๓ ให้ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับนี้มีผลใช้บังคับเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๓ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๔๙๖
ข้อ ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช
๒๕๕๗ข้อ ๑ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน ๒ และส่วน ๓ หมวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเงินรางวัลสลากพิเศษแบบเลขท้าย ๓ ตัว และ ๒ ตัว ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งผู้มีเงินได้ยอมให้ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ ๑.๐ ของเงินรางวัล โดยไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืน หรือไม่ขอเครดิตภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
ข้อ ๒ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน ๒ และส่วน ๓ หมวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับการขายหรือส่วนลดจากการซื้อสลากพิเศษแบบเลขท้าย ๓ ตัว และ ๒ ตัว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งผู้มีเงินได้ยอมให้ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ ๑.๐ ของเงินได้โดยไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืน หรือไม่ขอเครดิตภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
ข้อ ๓ ให้ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับนี้มีผลใช้บังคับเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๓ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๔๙๖
ข้อ ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 114/2557
เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการตำรวจแห่งชาติ
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการตำรวจแห่งชาติ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศให้เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ โดยให้มีระบบการบริหารงานบุคคล เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๘ ข้าราชการตำรวจอาจให้แบ่งเป็นข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศด้วยก็ได้ โดยให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
ข้าราชการตำรวจตำแหน่งใดหรือปฏิบัติหน้าที่ใด จะเป็นข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้กำหนดประเภทตำแหน่ง วิธีการกำหนดตำแหน่ง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม การบรรจุ การแต่งตั้ง การบังคับบัญชา วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การโยกย้ายระหว่างข้าราชการตำรวจประเภทมียศและข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศ รวมทั้งการปรับยศและเงินเดือน เมื่อมีการโยกย้ายดังกล่าวตลอดจนการอื่นตามที่จำเป็น
การกำหนดอัตราเงินเดือน อัตราเงินประจำตำแหน่ง การรับและการจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศสำหรับตำแหน่งแต่ละประเภทให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามลักษณะของประเภทตำแหน่ง แล้วแต่กรณี
พระราชกฤษฎีกาตามวรรคสอง ไม่มีผลกระทบฐานะของข้าราชการตำรวจที่มียศอยู่แล้วในวันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557
ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 115/2557
เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อให้วิธีพิจารณาความอาญาในส่วนที่เกี่ยวกับการสอบสวนมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
"มาตรา ๒๑/๑ สำหรับการสอบสวนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานตำรวจในกรณีที่ไม่แน่ว่าพนักงานสอบสวนคนใดในจังหวัดเดียวกันหรือในกองบัญชาการเดียวกัน ควรเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ให้ผู้บัญชาการซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนนั้นเป็นผู้ชี้ขาด
การรอคำสั่งชี้ขาด ไม่เป็นเหตุให้งดการสอบสวน"
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๑๔๒ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ในกรณีที่เสนอความเห็นควรสั่งฟ้อง ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนพร้อมกับผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการ เว้นแต่ผู้ต้องหานั้นถูกขังอยู่แล้ว หรือผู้ต้องหาซึ่งถูกแจ้งข้อหาแล้วหลบหนีไป"
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นมาตรา ๑๔๕/๑ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
"มาตรา ๑๔๕/๑ สำหรับการสอบสวนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานตำรวจในกรณีที่มีคำสั่งไม่ฟ้องและคำสั่งนั้นไม่ใช่คำสั่งของอัยการสูงสุด ถ้าในกรุงเทพมหานครให้รีบส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมกับคำสั่งเสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ถ้าในจังหวัดอื่นให้รีบส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมกับคำสั่งเสนอผู้บัญชาการหรือรองผู้บัญชาการซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ แต่ทั้งนี้มิได้ตัดอำนาจพนักงานอัยการที่จะจัดการอย่างใดแก่ผู้ต้องหาดังบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๔๓
ในกรณีที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในกรุงเทพมหานคร หรือ ผู้บัญชาการหรือรองผู้บัญชาการซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในจังหวัดอื่น แย้งคำสั่งของพนักงานอัยการ ให้ส่งสำนวนพร้อมกับความเห็นที่แย้งไปยังอัยการสูงสุดเพื่อชี้ขาด แต่ถ้าคดีจะขาดอายุความ หรือมีเหตุอย่างอื่นอันจำเป็นจะต้องรีบฟ้อง ก็ให้ฟ้องคดีนั้นตามความเห็นของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการหรือรองผู้บัญชาการดังกล่าวแล้วแต่กรณีไปก่อน
บทบัญญัติในมาตรานี้ ให้นำมาบังคับในการที่พนักงานอัยการจะอุทธรณ์ ฎีกา หรือถอนฟ้อง ถอนอุทธรณ์และถอนฎีกาโดยอนุโลม"
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑๖/๒๕๕๗
เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยมาตราการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
โดยที่เป็นการสมควรการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยมาตราการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อปรับปรุงบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการตรวจสอบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติมาตราการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๑๙ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรสงสัยว่าทรัพย์สินของผู้ต้องหารายใดเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้คณะกรรมการสั่งให้มีการตรวจสอบทรัพย์สินของผู้ต้องหาไปก่อน แล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบก็ได้
ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้ที่ดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินแล้วพบว่าการดำเนินการตรวจสอบต่อไปจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทางราชการ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งผลการตรวจสอบพร้อมกับความเห็นต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณา หากคณะกรรมการเห็นด้วยกับความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ คณะกรรมการอาจสั่งให้ยุติการตรวจสอบทรัพย์สินนั้นก็ได้ ในกรณีที่คณะกรรมการสั่งให้ยุติการตรวจสอบทรัพย์สิน หากคณะกรรมการเห็นสมควรจะสั่งให้คืนทรัพย์สินที่มีการยึดหรืออายัดไว้ชั่วคราวในระหว่างการตรวจสอบให้แก่เจ้าของทรัพย์สินก็ได้
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสั่งตรวจสอบทรัพย์สิน การยุติการตรวจสอบทรัพย์สิน หรือการคืนทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้ชั่วคราว ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด”
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑๗/๒๕๕๗
เรื่อง -
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑๘/๒๕๕๗
เรื่อง -
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑๙/๒๕๕๗
เรื่อง ระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์การเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
อาศัยอำนาจตามพระราชกฤษฏีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๗ มาตรา ๑๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติปฎิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ออกระเบียบเกี่ยวกับการเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดังนี้
ข้อ ๑. ตามพระราชกฤษฏีกาว่าด้วยสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๗ มาตรา ๑๐ การเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้องให้นิติบุคคลซึ่งไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรมาแบ่งปันกันเป็นผู้เสนอชื่อ จึงเห็นควรกำหนดว่ากรณีนิติบุคคลที่เป็นพรรคการเมืองประสงค์จะเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ให้หัวหน้าพรรคการเมืองนั้นเป็นผู้เสนอชื่อ
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒๐/๒๕๕๗
เรื่อง ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๑/๒๕๕๗ และแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ)
ตามที่ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๑/๒๕๕๗
เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ)
ลงวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗ และต่อมาได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ฉบับที่ ๙๙/๒๕๕๗ เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเกิดประสิทธิภาพและประโยชน์ต่อรัฐอย่างสูงสุด จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๑/๒๕๕๗ เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) ลงวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อ ๒ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) โดยมีองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
(๑) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประธานกรรมการ
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(๒) พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองประธานกรรมการ
รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(๓) พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ กรรมการ
รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(๔) ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(๕) ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
(๖) ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
(๗) ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
(๘) ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
(๙) ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
(๑๐) ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการ
(๑๑) ปลัดกระทรวงแรงงาน กรรมการ
(๑๒) ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรรมการ
(๑๓) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ กรรมการ
และสังคมแห่งชาติ
(๑๔) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
(๑๕) เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรรมการ
(๑๖) ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ กรรมการ
และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(๑๗) ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กรรมการ
(๑๘) ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการ
(๑๙) ประธานสมาคมธนาคารไทย กรรมการ
(๒๐) ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรรมการ
(๒๑) ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กรรมการ
(๒๒) ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง กรรมการและ
และขนาดย่อม เลขานุการ
ข้อ ๓ ให้คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) มีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
(๑) มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. ๒๕๔๓
(๒) ปฏิบัติหน้าที่แทนคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๔ การเบิกจ่ายค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของคณะกรรมการให้เป็นไปตามที่พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. ๒๕๔๓ กำหนด
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๖ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเกิดประสิทธิภาพและประโยชน์ต่อรัฐอย่างสูงสุด จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๑/๒๕๕๗ เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) ลงวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อ ๒ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) โดยมีองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
(๑) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประธานกรรมการ
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(๒) พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองประธานกรรมการ
รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(๓) พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ กรรมการ
รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(๔) ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
(๕) ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
(๖) ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
(๗) ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
(๘) ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
(๙) ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
(๑๐) ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการ
(๑๑) ปลัดกระทรวงแรงงาน กรรมการ
(๑๒) ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรรมการ
(๑๓) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ กรรมการ
และสังคมแห่งชาติ
(๑๔) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
(๑๕) เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรรมการ
(๑๖) ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ กรรมการ
และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(๑๗) ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กรรมการ
(๑๘) ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการ
(๑๙) ประธานสมาคมธนาคารไทย กรรมการ
(๒๐) ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรรมการ
(๒๑) ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กรรมการ
(๒๒) ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง กรรมการและ
และขนาดย่อม เลขานุการ
ข้อ ๓ ให้คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) มีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
(๑) มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. ๒๕๔๓
(๒) ปฏิบัติหน้าที่แทนคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๔ การเบิกจ่ายค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของคณะกรรมการให้เป็นไปตามที่พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. ๒๕๔๓ กำหนด
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๖ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ