วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 121-122 /2557

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒๑ / ๒๕๕๗
เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ              
          อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๗ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้        
          ข้อ ๑ ให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติประจำจังหวัดจังหวัดละหนึ่งคณะ ประกอบด้วยบุคคลตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๗          
          ข้อ ๒ ให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติด้านต่าง ๆ ตามมาตรา ๒๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ประกอบด้วยผู้มีรายชื่อ ดังต่อไปนี้
                                   ด้านการเมือง
                                   (๑) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
                                         (ประธานคณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ)
                                   (๒) นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์
                                         (อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
                                   (๓) นายนรนิติ เศรษฐบุตร
                                         (อดีตประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ , สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)
                                   (๔) นายภุมรัตน ทักษาดิพงศ์
                                         (อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ)
                                   (๕) นายสุจิต บุญบงการ
                                         (อดีตประธานสภาพัฒนาการเมือง)
                                   (๖) นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย
                                         (สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ , กรรมการเนติบัณฑิตยสภา)
                                   (๗) นายสุรพล นิติไกรพจน์
                                         (อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
                                   ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
                                   (๑) นายวิษณุ เครืองาม
                                        (อดีตประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ)
                                   (๒) นายติน ปรัชญพฤทธิ์
                                         (ศาสตราจารย์สาขารัฐประศาสนศาสตร์)
                                   (๓) นายทศพร ศิริสัมพันธ์
                                         (อดีตเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ)
                                   (๔) นายนนทิกร กาญจนะจิตรา
                                         (เลขาธิการกคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน)
                                   (๕) นายมีชัย ฤชุพันธุ์
                                         (อดีตประธานวุมิสภา)
                                   (๖) นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ
                                         (อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี)
                                   (๗) นายสีมา สีมานันท์
                                         (สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)

วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557

คำสั่ง คสช. ที่ 101 - 110 /2557

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  ที่ ๑๐๑/๒๕๕๗
เรื่อง การแต่งตั้งชุดติดตามและตรวจสอบการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์จังหวัด
       ตามที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๗๓/๒๕๕๗ เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ แล้วนั้น เพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายในการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวและการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในเขตพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักรเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลสูงสุด คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
      ข้อ ๑ ให้แต่งตั้งชุดติดตามและตรวจสอบการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์จังหวัด ประกอบด้วย
           (๑) ผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าชุดตรวจ
           (๒) รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด (ฝ่ายทหาร) รองหัวหน้าชุดตรวจ
           (๓) ปลัดจังหวัด รองหัวหน้าชุดตรวจ
           (๔) ผู้บังคับการตำรวจน้ำ ชุดตรวจ
           (๕) ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค ชุดตรวจ
           (๖) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ชุดตรวจ
           (๗) ประชาสัมพันธ์จังหวัด ชุดตรวจ
           (๘) ประมงจังหวัด ชุดตรวจ
           (๙) ผู้อำนวยการสำนักงานบังคับคดีจังหวัด ชุดตรวจ
           (๑๐) พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ชุดตรวจ
           (๑๑) พาณิชย์จังหวัด ชุดตรวจ
           (๑๒) สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ชุดตรวจ
           (๑๓) อุตสาหกรรมจังหวัด ชุดตรวจ
           (๑๔) ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ชุดตรวจ
           (๑๕) จัดหางานจังหวัด ชุดตรวจและเลขานุการ
           (๑๖) แรงงานจังหวัด ชุดตรวจและผู้ช่วยเลขานุการ
      ข้อ ๒ ให้ชุดติดตามและตรวจสอบการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์จังหวัดตามข้อ ๑ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
           (๑) ติดตาม ตรวจสอบนายจ้างและ สถานประกอบการ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน และการใช้แรงงานเด็กภายในเขตจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุด
           (๒) ประสานงานและติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนภายในเขตจังหวัด
           (๓) รายงานผลการดำเนินงานพร้อมความเห็นและข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์
           (๔) ปฎิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์มอบหมาย
     ข้อ ๓ ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐภายในเขตจังหวัด สนับสนุนการดำเนินงานของชุดติดตามและตรวจสอบการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์จังหวัดตามที่ได้รับการร้องขอ
     ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
     สั่ง ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  ที่ ๑๐๒/๒๕๕๗
เรื่อง  -

วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 111 - 120 /2557

ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ  ฉบับที่ 111/2557
เรื่อง  แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ
         โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการปฏิบัติภารกิจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดทางอาญา การรักษาความสงบเรียบร้อย และการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้เกิดประสิทธิภาพ เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละท้องถิ่้นและชุมชน โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรภาคเอกชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
         ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
         "มาตรา ๗  ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดระบบการบริหาร การปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา การรักษาความสงบเรียบร้อย และการรักษาความปลอดภัยของประชาชนให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละท้องถิ่นและชุมชน โดยต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรภาคเอกชนมีส่วนร่วม ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบาย งบประมาณและอาสาสมัคร ตลอดจนการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานตำรวจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ต.ช. กำหนด
          การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรภาคเอกชนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรภาคเอกชนนั้น"
          ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
          ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ  ฉบับที่ 112/2557
เรื่อง  แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๒
           โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อให้การดำเนินการในการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
           ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า คณะกรรมการในข้อ ๔ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
            “คณะกรรมการหมายความว่า คณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลหรือข่าวสารการกระทำที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
           ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๒
            ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
             “ข้อ ๙ ให้คณะกรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการจเรตำรวจแห่งชาติ เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เจ้ากรมพระธรรมนูญ ผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เป็นกรรมการ
            ให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเป็นกรรมการและเลขานุการและให้แต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจำนวนสองคนเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
            ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ ๑๑ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
            “ข้อ ๑๑ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
             (๑) กำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปล่อยปละละเลยหรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
             (๒) ตรวจสอบ กลั่นกรอง และแสวงหาข้อเท็จจริงเบื้องต้น เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
             (๓) พิจารณากรณีที่มีการกล่าวหาร้องเรียน หรือข้อมูลหรือข่าวสารที่ได้รับจากแหล่งข่าวเพื่อวินิจฉัยเบื้องต้นซึ่งพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
             (๔) เชิญผู้แทนหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนมาชี้แจง ส่งข้อมูลหรือเอกสารมาเพื่อประกอบการพิจารณา และอาจร้องขอให้บุคคลใดมาให้ถ้อยคำ
             (๕) ส่งข้อมูลเกี่ยวกับพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือข้อมูลเกี่ยวกับการจับกุมตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด ไปยังผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้มีการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ตลอดจนติดตามการดำเนินการดังกล่าว
             (๖) ติดตาม กวดขัน และสอดส่องดูแล การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐเพื่อป้องกันมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
             (๗) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานได้ตามความเหมาะสม
           ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
            ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 101 - 110 /2557

ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ  ฉบับที่ 101/2557
เรื่อง  แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 71/2557
         โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 71/2557 เรื่อง การสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ลงวันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 เพื่อให้กระบวนการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินสามารถดำเนินการได้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
         ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 10 ของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 71/2557 เรื่อง การสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ลงวันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช
                 "ข้อ 10 ในกรณีที่ไม่มีกรรมการสรรหาในตำแหน่งใดในคณะกรรมการสรรหาตามข้อ 3 หรือข้อ 5 ให้คณะกรรมการสรรหาดังกล่าวประกอบด้วยกรรมการสรรหาเท่าที่มีอยู่”
        ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
        ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 102 / 2557
เรื่อง  การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
          โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจตรารักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้านเช่นเดียวกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ อันจะส่งผลให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดในการรักษาความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนภายในหมู่บ้านโดยส่วนรวม คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
         ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (3) ในวรรคหนึ่งของมาตรา 28 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2510
          “(3) ตรวจตรารักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้านร่วมกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ”
          ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 103 / 2557
เรื่อง  แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557
          โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 เรื่อง การให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เพื่อให้การเผนแพร่ข้อมูลข่าวสารไปสู่ประชาชนเป็นไปด้วยความถูกต้อง ปราศจากการบิดเบือนและความเข้าใจผิด อันจะส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
         ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (3) ของข้อ 2 แห่งประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 ฉบับที่ 97/2557 เรื่อง การให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                  "(3) การวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยมีเจตนาไม่สุจริตเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของคณะรักษาความสงบแห่งชาติด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ"
         ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 ฉบับที่ 97/2557 เรื่อง การให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                  "ข้อ 5 ในกรณีที่ปรากฎว่าบุคคลใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 2 หรือข้อ 3 พนักงานเจ้าหน้าที่อาจส่งเรื่องให้องค์กรวิชาชีพที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกดำเนินการสอบสวนทางจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ"
         ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
         ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คำสั่ง คสช. ที่ 91 - 100 /2557

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 91/2557
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.)
       เพื่อให้การพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศไทย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
       1. องค์ประกอบ
          1.1 รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ/หัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ ประธานกรรมการ
          1.2 หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม รองประธานกรรมการ
          1.3 ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
          1.4 ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
          1.5 ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
          1.6 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
          1.7 ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
          1.8 ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการ
          1.9 ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรรมการ
          1.10 ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
          1.11 ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
          1.12 ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
          1.13 ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ
          1.14 ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
          1.15 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
          1.16 ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กรรมการ
          1.17 ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการ
          1.18 ประธานสมาคมธนาคารไทย กรรมการ
          1.19 ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย กรรมการ
          1.20 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ
          1.21 รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
       2. อำนาจหน้าที่
          2.1 ให้ความเห็นหรือเสนอแนะต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในประเด็นที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
          2.2 กำกับดูแล ประสานงาน และเร่งรัดติดตามการดำเนินงานของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ
          2.3 เชิญผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการ รวมทั้งเรียกเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา
          2.4 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือหรือปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม เพื่อดำเนินการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
          2.5 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
        ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ ให้เบิกจ่ายตามระเบียบทางราชการ โดยให้เบิกจ่ายจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
        ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
        สั่ง ณ วันที่ 9 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 91 - 100 /2557

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  ฉบับที่ ๙๑/๒๕๕๗
เรื่อง การก่อสร้างอาคารตาม “โครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์ พร้อมระบบสาธารณูปโภค" คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
         เนื่องจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มีความจำเป็นต้องดำเนินการก่อสร้างอาคารตาม "โครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์พร้อมระบบสาธารณูปโภค" ซึ่งเป็นอาคารศูนย์การแพทย์ จำนวน ๑ หลัง เพื่อใช้เป็นศูนย์บริการทางการแพทย์เฉพาะทางด้านต่างๆ อันจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาและการบริการผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๘๔ พรรษา ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ อนุมัติในหลักการโครงการและสนับสนุนด้านงบประมาณให้โครงการแล้ว แต่โดยที่พื้นที่ที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารมีอย่างจำกัด จึงจำเป็นต้องสร้างอาคารสูงเพื่อให้มีพื้นที่ใช้สอยอย่างเพียงพอ กรณีจึงมีความจำเป็นต้องยกเว้นบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งเป็นข้อจำกัดบางประการ เพื่อให้คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถดำเนินการก่อสร้างอาคารศูนย์การแพทย์ต่อไปได้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงได้มีประกาศ ดังต่อไปนี้
          ข้อ ๑ ให้การดำเนินการก่อสร้างอาคารตาม “โครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์ พร้อมระบบสาธารณูปโภค” คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งอยู่เลขที่ ๒ ถนนวังหลัง เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ขนาดพื้นที่โครงการ ๓,๐๑๗ ตารางเมตร หรือประมาณ ๑.๘๘ ไร่ ประกอบด้วยอาคารศูนย์การแพทย์ จำนวน ๑ หลัง ขนาดความสูง ๒๕ ชั้น และชั้นใต้ดินสองชั้น ได้รับการยกเว้นการใช้บังคับบทบัญญัติดังต่อไปนี้
              (๑) หมวด ๑ ลักษณะของอาคาร เนื้อที่ว่างของภายนอกอาคารและแนวอาคารตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ.๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
              (๒) ข้อ ๓๑ แห่งกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมของกรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๕๖
              (๓) ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ภายในบริเวณฝั่งธนบุรีตรงข้ามบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ ในท้องที่แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด แขวงอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี และแขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๓๕
              (๔) หมวด ๕ แนวเขตอาคาร และระยะต่างๆ ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๔๔
        ข้อ ๒ การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม "โครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์ พร้อมระบบสาธารณูปโภค" คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เว้นแต่การพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในกระบวนการหรือขั้นตอนใดไม่สามารถดำเนินการได้ และจะทำให้การดำเนินการโครงการต้องล่าช้าออกไปโดยไม่ได้เกิดจากการดำเนินการของโครงการ ให้โครงการได้รับการยกเว้นขั้นตอนการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในขั้นตอนนั้น
        ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
        ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๒/๒๕๕๗
เรื่อง การลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
         โดยที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติพิจารณาเห็นเป็นการสมควรลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นการผลักดันและกระตุ้นกลไกทางเศรษฐกิจ ทำให้ประชาชนมีกำลังในการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคอันจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง จึงให้ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังต่อไปนี้
         ข้อ ๑ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๕๔๙) พ.ศ.๒๕๕๕
         ข้อ ๒ ให้อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๐ แห่งประมวลรัษฎากร และคงจัดเก็บในอัตรา ดังต่อไปนี้
               (๑) ร้อยละหกจุดสาม สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณี ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๘
               (๒) ร้อยละเก้า สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณี ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๘ เป็นต้นไป
        ข้อ ๓ ให้ประกาศคณะรักษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับนี้มีผลใช้บังคับเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๘๐ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ.๒๕๓๔
        ข้อ ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับนี้
        ข้อ ๕ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๗ เป็นต้นไป
        ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 81 - 90 /2557

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๑/๒๕๕๗
เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ.๒๕๒๑
        โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ เพื่อกำหนดให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญซึ่งเมื่อรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญแล้ว ต่ำกว่าเดือนละเก้าพันบาทได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มอีกตามอัตราที่กำหนดอันเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่บุคคลดังกล่าวในการครองชีพ จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ.๒๕๒๑ ดังต่อไปนี้
        ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔ นว แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ.๒๕๒๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ.๒๕๕๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
             “มาตรา ๔ นว ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการถ้าได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญรวมกันทุกประเภทเมื่อรวมกับ ช.ค.บ.แล้ว ต่ำกว่าเดือนละเก้าพันบาทให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของจำนวนเงินเก้าพันบาทหักด้วยจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญทุกประเภท และ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิ์ได้รับ
        ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
        ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๒/๒๕๕๗
เรื่อง  เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๗
             โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีการจ่ายเงิน ช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด ของกระทรวงกลาโหม และเพื่อให้การกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายเงินดังกล่าวเป็นไปโดยสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการ กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
             ข้อ ๑ ในประกาศนี้
              “ข้าราชการทหารหมายความว่า ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร
              “โครงการหมายความว่า โครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗ ถึงปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑
              “เงินเดือนเดือนสุดท้ายหมายความว่า เงินเดือนที่ได้รับจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนเดือนสุดท้ายที่ออก จากราชการ รวมทั้งเงินเดือนที่ได้เลื่อนครั้งสุดท้ายก่อนออกจากราชการและเงินประจำ ตำแหน่ง แต่ไม่รวมถึงเงินเพิ่มทุกประเภท
              “เงินประจำตำแหน่งหมายความว่า เงินประจำตำแหน่งตามบัญชีท้ายกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร 
              “เงินช่วยเหลือหมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่ข้าราชการทหารซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตาม โครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม
              “เวลาราชการหมายความว่า เวลาที่ข้าราชการทหารรับราชการมาตั้งแต่ต้นจนถึงวันสุดท้ายที่ได้รับเงิน เดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้า ราชการ แต่ไม่รวมถึงเวลาราชการที่มีสิทธิ์ได้นับเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ
               “เวลาราชการที่เหลือหมายความว่า เวลาตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการจนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ของปีงบประมาณที่ข้าราชการทหารผู้ประสงค์จะลาออกจากราชการมีอายุครบหกสิบปีบ ริบูรณ์
              ข้อ ๒ ข้าราชการทหารซึ่งจะเข้าร่วมโครงการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ ในวันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ
               (๑) มีอายุตั้งแต่ห้าสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป หรือมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีขึ้นไป ทั้งนี้ให้นับถึงวันก่อนวันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามโครงการ
               (๒) มีเวลาราชการที่เหลือไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามโครงการ
               (๓) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถูกสอบหาข้อเท็จจริง หรือถูกสอบสวนทางวินัย หรืออยู่ในระหว่างการดำเนินการลงโทษทางวินัยตามกฎหมายเกี่ยวกับวินัยทหาร หรือเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาซึ่งมิใช่ความผิดลหุโทษหรือความผิดที่ ได้กระทำโดยประมาท
               (๔) ไม่เป็นผู้อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะต้องออกจากราชการไม่ว่ากรณีใดๆ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร
               (๕) ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างปฏิบัติราชการชดใช้ตามสัญญาที่ได้ทำไว้กับส่วนราชการ ในการไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย เว้นแต่จะยินยอมชดใช้เงินตามสัญญาผูกพันที่ได้ทำไว้กับราชการและได้ปฏิบัติ ราชการชดใช้มาแล้วไม่น้อยกว่าระยะเวลาศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัยนั้น
               วันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตาม วรรคหนึ่ง ต้องอยู่ในระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๖ ถึงวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๐ ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขของโครงการ
               ข้อ ๓ ให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่ข้าราชการทหารซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตาม โครงการ เป็นจำนวนเท่ากับจำนวนปีของเวลาราชการที่เหลือบวกด้วยแปดและคูณด้วยเงิน เดือนเดือนสุดท้าย แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินสิบห้าเท่าของเงินเดือนเดือนสุดท้าย
               การนับเวลาราชการที่เหลือตามวรรคหนึ่ง ให้คำนวณเป็นปี แต่ถ้ามีเศษของปีถึงครึ่งปี ให้ได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มขึ้นอีกครึ่งหนึ่งของเงินเดือนเดือนสุดท้าย
               การเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
               การรับเงินช่วยเหลือตามวรรคหนึ่ง ไม่ตัดสิทธิของข้าราชการทหารที่มีอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้า ราชการและกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ รวมถึงสิทธิประโยชน์อื่นใดที่ทางราชการให้แก่ผู้รับบำเหน็จบำนาญ
               ข้อ ๔ ในกรณีที่ข้าราชการทหารซึ่งมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือตามข้อ ๓ ถึงแก่ความตายก่อนได้รับเงินช่วยเหลือ ให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้มีสิทธิรับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
               ข้อ ๕ ภายในระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ หากปรากฏว่าข้าราชการทหารซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะ ต้องห้ามลักษณะหนึ่งลักษณะใดตามข้อ ๒ ข้าราชการทหารผู้นั้นไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินช่วยเหลือตามข้อ ๓ และให้ส่วนราชการที่อนุญาตให้ลาออกจากราชการเรียกเงินช่วยเหลือคืน โดยผู้นั้นต้องคืนเงินช่วยเหลือภายในเวลาและตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กระทรวงการคลังกำหนด
              ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งประสงค์จะกลับ เข้ารับราชการ และมิใช่กรณีที่เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๒ (๓) หรือ (๔) ให้หัวหน้าส่วนราชการซึ่งอนุญาตให้ลาออกจากราชการ สั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ผู้นั้นดำรงตำแหน่งและรับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดิม แต่ไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนเงินอื่นที่จ่ายเป็นรายเดือน และสิทธิประโยชน์อย่างอื่นที่ทางราชการให้แก่ผู้นั้นในระหว่างที่ไม่ได้ปฏิบัติราชการ
              ข้อ ๖ ภายใต้บังคับข้อ ๕ ผู้ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือตามข้อ ๓ แล้ว หากกลับเข้าเป็นข้าราชการประจำในส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือกำกับ ของฝ่ายบริหาร หรือส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอีก ให้ผู้นั้นส่งคืนเงินช่วยเหลือที่ได้รับไว้ทั้งหมด พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝากประจำสิบสองเดือนของธนาคารออมสินตามหลัก เกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
              ข้อ ๗ ให้นำความในข้อ ๖ มาใช้บังคับกับผู้ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือตามข้อ ๓ แล้ว และต่อมาได้รับการบรรจุเป็นพนักงานราชการหรือพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา โดยอนุโลม ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่สัญญาจ้างมีระยะเวลาเกินหนึ่งปี โดยให้นับรวมระยะเวลาการต่ออายุสัญญาจ้างด้วย
              เพื่อประโยชน์แห่งข้อนี้ พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาหมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างให้ทำงานในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษาที่เป็นนิติบุคคล ทั้งที่เป็นส่วนราชการและที่เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ โดยผู้นั้นได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินรายได้ ของสถานศึกษาของรัฐนั้น
              ข้อ ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามประกาศนี้
              ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
                        ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คำสั่ง คสช. ที่ 81 - 90 /2557

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๑/๒๕๕๗
เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
      เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังนี้
      ข้อ ๑ ให้กำหนดตำแหน่งข้าราชการเพิ่มขึ้นในส่วนราชการ ดังนี้
        (๑) ตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวนสองตำแหน่ง
        (๒) ตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ในกระทรวงการคลัง จำนวนหนึ่งตำแหน่ง
        (๓) ตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ในกระทรวงแรงงาน จำนวนหนึ่งตำแหน่ง
      ข้อ ๒ ให้ นายสมชัย ศิริวัฒนโชค พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวงคมนาคม และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นพิเศษเฉพาะราย
      ข้อ ๓ ให้ นายโชติ ตราชู พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นพิเศษเฉพาะราย
      ข้อ ๔ ให้ นายสุทธิชัย สังขมณี พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมสรรพากร และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง เป็นพิเศษเฉพาะราย
      ข้อ ๕ ให้ นายประวิทย์ เคียงผล พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมการจัดหางาน และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน เป็นพิเศษเฉพาะราย
      ข้อ ๖ ให้ นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงคมนาคม และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงคมนาคม
      ข้อ ๗ ให้ นายมิ่งขวัญ วิชยารังสฤษดิ์ พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
      ข้อ ๘ ให้ นายเกษมสันต์ จิณณวาโส พ้นจากตำแหน่ง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
      ข้อ ๙ ให้ นายจตุพร บุรุษพัฒน์ พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ
      ข้อ ๑๐ ให้ นางสาวภาวิณี ปุณณกันต์ พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
      ข้อ ๑๑ ให้ นายสุพจน์ โตวิจักรชัยกุล พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
      ข้อ ๑๒ ให้ นายประสงค์ พูนธเนศ พ้นจากตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมสรรพากร
      ข้อ ๑๓ ให้ นายกุลิศ สมบัติศิริ พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
      ข้อ ๑๔ ให้ นายพีรพัฒน์ พรศิริเลิศกิจ พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน และให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงแรงงาน
      ข้อ ๑๕ ให้ นายสุเมธ มโหสถ พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงแรงงาน และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมการจัดหางาน
      ข้อ ๑๖ ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้น ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีคำสั่งนี้เป็นต้นไป
      ข้อ ๑๗ ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าวให้เรียบร้อยโดยด่วน โดยจัดให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่เดิม
      ข้อ ๑๘ เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
      ข้อ ๑๙ เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕ ให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นอันยกเลิก
      ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      สั่ง ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗

วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 71 - 80 /2557

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๑/๒๕๕๗
เรื่อง การสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
        โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งยังไม่มี เพื่อประโยชน์ต่อการตรวจสอบการเงินของแผ่นดินโดยรวม ให้สามารถทำหน้าที่ได้ตามกฎหมาย คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
         ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๗/๒๕๕๗ เรื่อง ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่แทนประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
         ข้อ ๒ ให้ยกเลิกบทบัญญัติแห่งชาติพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๖ มาตรา ๘ มาตรา ๑๕(๖) มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๑ หรือมาตราอื่นใดที่ขัดหรือแย้งต่อประกาศฉบับนี้
         ข้อ ๓ ให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการตรวจเงินแผ่นดินจำนวนเจ็ดคน ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจำนวนหนึ่งคน และบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกอีกจำนวนหนึ่งคน โดยให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทำหน้าที่ธุรการคณะกรรมการสรรหา
          บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดเลือกตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่ใช่ผู้พิพากษาหรือตุลาการ
          หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสรรหากรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการสรรหาประกาศกำหนด
          ให้คณะกรรมการสรรหาดำเนินการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน นับแต่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ
         ข้อ ๔ ให้มีคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกหกคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีความชำนาญและประสบการณ์ทางด้านบัญชีและด้านกฎหมายด้านละสองคน ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านบริหารธุรกิจ และด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการตรวจเงินแผ่นดินอีกด้านละหนึ่งคน โดยผู้ได้รับการสรรหาต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปีบริบูรณ์ มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
           บุคคลที่สมควรได้รับการสรรหาตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒ และต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
           (๑) เคยเป็นข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๑๐ หรือเทียบเท่า หรือเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงหรือเทียบเท่า
           (๒) เป็นหรือเคยเป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาและดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์มาแล้วไม่น้อยกว่าสิบปี
           (๓) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการผู้จัดการ หรือตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นของธุรกิจ ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยต้องดำรงตำแหน่งดังกล่าวเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปี
           บุคคลที่ได้รับการสรรหาตามวรรคหนึ่งต้องมีความชำนาญหรือประสบการณ์ทางด้านการตรวจเงินแผ่นดินอย่างน้อยสองคน
         ข้อ ๕ ให้มีคณะกรรมการสรรหาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินจำนวนเจ็ดคน ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ ศาลฎีกาคัดเลือกจำนวนหนึ่งคน และบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกอีกจำนวนหนึ่งคน โดยให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทำหน้าที่ธุรการคณะกรรมการสรรหา
           บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดเลือกตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่ใช่ผู้พิพากษาหรือตุลาการ และต้องไม่เป็นกรรมการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจเงินแผ่นดินในขณะเดียวกัน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสรรหาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการสรรหาประกาศกำหนด
          ให้คณะกรรมการสรรหาดำเนินการสรรหาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน นับแต่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ
         ข้อ ๖ ให้มีผู้ว่าราชการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้ได้รับการสรรหาซึ่งต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปีบริบูรณ์ มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีวุฒิการศึกษาในระดับตั้งแต่ปริญญาโทขึ้นไป เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี และต้องเคยเป็นข้าราชการไม่ต่ำกว่าระดับ ๑๐ หรือเทียบเท่า หรือเป็น หรือเคยเป็นข้าราชการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงหรือเทียบเท่า และต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒
         ข้อ ๗ เมื่อดำเนินการสรรหาเสร็จแล้ว ให้คณะกรรมการสรรหาเสนอรายชื่อบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาตินำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินต่อไป และให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
         ข้อ ๘ ให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินมีวาระการดำรงตำแหน่งสามปีนับแต่วันที่ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง โดยมิให้นำบทบัญญัติที่ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว เพียงวาระเดียวมาใช้บังคับ เว้นแต่ผู้นั้นได้รับการสรรหาเป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินอีกวาระหนึ่ง ให้ผู้ที่ได้รับการสรรหาเป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดินดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้ไม่เกินสามปี และให้ผู้ที่ได้รับการสรรหาเป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้ไม่เกินสองปี
         ข้อ ๙ ในระหว่างการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ให้รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน รักษาราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่แทนประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินไปพลางก่อน
         ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
         ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗

คำสั่ง คสช. ที่ 71 - 80 /2557

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๑/๒๕๕๗
เรื่อง จัดตั้งศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
       เพื่อให้การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทยทั้ง ๓ เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมือง และความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีเอกภาพ และการบูรณาการทุกภาคส่วนอย่างสอดคล้องและสัมพันธ์กัน จึงให้ดำเนินการดังนี้
       ๑. จัดตั้งศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีคณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เป็นผู้บริหารงาน
       ๒.แต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังนี้
         ๒.๑.คณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย
           ๒.๑.๑ รองหัวหน้าคณะกรรมการรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
           ๒.๑.๒ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ รองประธานกรรมการ
           ๒.๑.๓ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ รองประธานกรรมการ
           ๒.๑.๔ ปลัดกระทรวงกลาโหม รองประธานกรรมการ
           ๒.๑.๕ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารสูงสุด กรรมการ
           ๒.๑.๖ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารบก กรรมการ
           ๒.๑.๗ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารเรือ กรรมการ
           ๒.๑.๘ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ กรรมการ
           ๒.๑.๙ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
           ๒.๑.๑๐ ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
           ๒.๑.๑๑ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรรมการ
           ๒.๑.๑๒ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรรมการ
           ๒.๑.๑๓ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
           ๒.๑.๑๔ ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
           ๒.๑.๑๕ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการ
           ๒.๑.๑๖ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรรมการ
           ๒.๑.๑๗ ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
           ๒.๑.๑๘ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
           ๒.๑.๑๙ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
           ๒.๑.๒๐ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กรรมการ
           ๒.๑.๒๑ ปลัดกระทรวงแรงงาน กรรมการ
           ๒.๑.๒๒ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กรรมการ
           ๒.๑.๒๓ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการ
           ๒.๑.๒๔ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ
           ๒.๑.๒๕ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
           ๒.๑.๒๖ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
           ๒.๑.๒๗ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ
           ๒.๑.๒๘ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
           ๒.๑.๒๙ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรรมการ
           ๒.๑.๓๐ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน กรรมการ
           ๒.๑.๓๑ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กรรมการ
           ๒.๑.๓๒ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรรมการ
           ๒.๑.๓๓ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กรรมการ
           ๒.๑.๓๔ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน กรรมการ
           ๒.๑.๓๕ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน กรรมการ
           ๒.๑.๓๖ ประธานสมาคมธนาคารไทยหรือผู้แทน กรรมการ
           ๒.๑.๓๗ เสนาธิการทหาร กรรมการและเลขานุการ
           ๒.๑.๓๘ เจ้ากรมยุทธการทหาร ผู้ช่วยเลขานุการ
           ๒.๑.๓๙ อธิบดีกรมอาเซียน ผู้ช่วยเลขานุการ
       ๒.๒ อำนาจหน้าที่
           ๒.๒.๑ บริหารงาน และกำกับดูแลศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนให้เป็นไปตามนโยบาย
           ๒.๒.๒ กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทาง และท่าทีของไทยในการเข้าร่วมกรอบความร่วมมืออาเซียน
           ๒.๒.๓ พิจารณาแก้ไข ปรับปรุง พัฒนา กฎหมาย กฎ ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
           ๒.๒.๔ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน ได้ตามความเหมาะสม โดยคณะอนุกรรมการหลักประกอบด้วย
             ๒.๒.๔.๑ คณะอนุกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มีปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน
             ๒.๒.๔.๒ คณะอนุกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน มีรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธาน
             ๒.๒.๔.๓ คณะอนุกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธาน
           ๒.๒.๕ สามารถเชิญผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมการประชุม ได้ตามความเหมาะสม
           ๒.๒.๖ เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว ให้คณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ยังคงรับผิดชอบการดำเนินการ ไปจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
            ๒.๒.๗ รายงานผลการปฏิบัติ ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทราบอย่างต่อเนื่อง
      ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      สั่ง ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗

วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 61 - 70 / 2557

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๑/๒๕๕๗
เรื่อง  การแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เฉพาะกิจ)
          เพื่อให้การกำหนดนโยบายการส่งเสริมสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีความเข้มแข็งและมีความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน จึงให้แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นการเฉพาะกิจ ดังต่อไปนี้
          ๑. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ) ประธานกรรมการ
          ๒. พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง (รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ) รองประธานกรรมการ
          ๓. ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
          ๔. ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
          ๕. ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
          ๖. ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
          ๗. ปลัดกระทรงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
          ๘. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
          ๙. เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรรมการ
        ๑๐. ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กรรมการ
        ๑๑. ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการ
        ๑๒. ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กรรมการ
       อำนาจหน้าที่
       ให้มีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.๒๕๔๓
        ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๒/ ๒๕๕๗
เรื่อง ให้ผู้ที่มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือที่มีกฎหมายห้ามออกใบอนุญาต นำส่งมอบ
            ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติให้ ได้กำหนดให้ผู้ที่มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนหรือวัตถุระเบิดที่สำหรับใช้เฉพาะแต่การสงคราม นำส่งมอบภายในวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๗ แล้วนั้น แต่เนื่องด้วยปรากฏว่ายังมีบุคคลจำนวนหนึ่งมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือที่มีกฎหมายห้ามออกใบอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน มาใช้ในการกระทำความผิดต่างๆ อันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน ดังนั้น เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองเป็นไปโดยเรียบร้อย คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
             ข้อ ๑. ให้ผู้ที่มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือที่มีกฏหมายห้ามออกใบอนุญาตตามกฏหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน นำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดส่งมอบต่อนายทะเบียนท้องที่ตามกฏหมายดังกล่าวภายในวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๗ ทั้งนี้ เฉพาะอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ซึ่งนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ตามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๗/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่อง ให้ผู้ที่มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่สำหรับใช้เฉพาะแต่การสงครามนำส่งมอบ และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๕๙/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่อง ขยายระยะเวลาการนำส่งมอบอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่สำหรับใช้เฉพาะแต่การสงคราม
            ข้อ ๒. ให้ผู้ที่ปฏิบัติตามข้อ ๑ ไม่ต้องรับโทษทางอาญาตามที่บัญญัติไว้ในกฏหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน
            ข้อ ๓. ผู้ที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี
            ข้อ ๔. ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับแก่ผู้กระทำความผิดตามกฏหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน ซึ่งถูกจับกุมหรือตกเป็นผู้ต้องหาหรือเป็นจำเลยก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้ บังคับ และอยู่ระหว่างการสอบสวนหรือคดีไม่ถึงที่สุด
            ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
            ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗

วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คำสั่ง คสช. ที่ 61 - 70 / 2557

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 61/2557
เรื่อง ให้บุคคลเข้ามารายงานตัวเพิ่มเติม
           เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันพุธที่ 11 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 เวลา 10.00 - 12.00 น. ดังนี้
          1. นาย รังสฤษฏิ์ ธิยาโน
          2. นาย ชัชชาญ บุปผาวัลย์
          3. นาย ยงยุทธ บุญดี
         4. นาย วัฒนา ทรัพย์วิเชียร
         สั่ง ณ วันที่ 10 มิถุนายน พุทธศักราช 2557

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 62/2557
เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่
          เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
          1.ให้ นายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มาปฏิบัติราชการที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
          2.ให้ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอาวุโสสูงสุด เป็นผู้รักษาราชการแทนเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
          3.ให้ นายอรรถพล ใหญ่สว่าง อัยการสูงสุด มาปฏิบัติราชการที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
          4.ให้ นายตระกูล วินิจนัยภาค รองอัยการสูงสุด เป็นผู้รักษาราชการแทนอัยการสูงสุด
          5.ให้ นายสุรชัย ศรีสารคาม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาปฏิบัติราชการที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
          6.ให้ นางเมธินี เทพมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นผู้รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
          สั่ง ณ วันที่ 11 มิถุนายน พุทธศักราช 2557

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 63/2557
เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
         เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พุทธศักราช 557 เวลา 10.00 - 12.00 น.ดังนี้
         1.นายอิสระ สมชัย
         2.นายถนอม อ่อนเกตุพล
                    ฯลฯ
         สั่ง ณ วันที่ 11 มิถุนายน พุทธศักราช 2557

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๔/๒๕๕๗
เรื่อง การปราบปรามและการหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้
        เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดผลกระทบที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ของประเทศโดยรวม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
        ๑. ให้กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย กองกำลังป้องกันชายแดนของกองทัพบก และกองทัพเรือ ตลอดจนหน่วยงานที่มีภารกิจและอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการปราบปรามและจับกุมผู้บุกรุก ยึดถือครอบครอง ทำลาย หรือกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สถาพป่า รวมทั้งผู้สมคบและสนับสนุนช่วยเหลือ ให้ได้ผลอย่างจริงจังในทุกพื้นที่ รวมทั้งสกัดกั้นการลักลอบตัดไม้มีค่าหรือไม้หวงห้าม การนำเข้าและส่งออกไม้ที่ผิดกฎหมาย ตลอดแนวชายแดน ตลอดจนปราบปรามเครือข่ายขบวนการตัดไม้ทำลายป่าในทุกหมู่บ้านและชุมชนทั่วประเทศ
        ๒. ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ควบคุม ตรวจสอบ กิจการการแปรรูป การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ การค้าไม้แปรรูป ตลอดจนการค้าหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามและสิ่งประดิษฐ์ใด เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดที่ทำด้วยไม้หวงห้าม หากพบมีการปล่อยปละละเลย หรือมีเจตนาจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายที่บัญญัติไว้ ให้ดำเนินการลงโทษตรากฎหมายอย่างเด็ดขาดกับเจ้าของหรือผู้ประกอบการโดยทันที
        ๓. ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ติดตามผลคดีป่าไม้และดำเนินการพื้นฟูพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกทำลาย ให้คืนสภาพป่าที่สมบูรณ์ดังเดิม โดยประสานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาคประชาชนและองค์กรชุมชนได้เข้ามีส่วนรวมในการดำเนินการดังกล่าวอย่างจริงจัง
        ๔. เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดปล่อยปละละเลย หรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดตามกรณีดังกล่าวข้างต้น จะต้องถูกดำเนินการทั้งทางวินัยและทางอาญาเด็ดขาดโดยทันที
        ๕. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ติดตามผลการดำเนินการตามข้อ ๑-๔ และรายงานผลการปฏิบัติให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติทราบอย่างต่อเนื่อง
        ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
        สั่ง ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗

วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คำสั่ง คสช. ที่ 51 - 60 /2557

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 50/2557
เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
                       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ ๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๐๐๐-๑๒๐๐ ดังนี้
                           
๑. นายทนง            ศิริปรีชาพงษ์
                           
๒. นายอุสมาน        สะแลแมง
                           
๓. นายวิจารณ์         แสนลี่
                           
๔. นายจำเริญ         ชีวินเฉลิมโชติ
                           
๕. นายมนตรี          พฤกษาพันธ์ทวี
                           
๖. นายวสุพล          จตุรคเชนทร์เดชา
                           
๗. นายหรั่ง             ธุระพล
                           
๘. น.ส.นุชนาถ       สุวรรณศร
                           
๙. นายฉกาจ          คหบดีรัตน์
                           
๑๐. พ.ต.ท.อุทัย      บทมาตย์
                           
๑๑. นายเจ๊ะอาแว    สะมารอเม๊าะ
                           
๑๒. นายประสิทธิ์    ดวงเพ็ชร
                        สั่ง  วันที่ ๖ มิถุนายน พุทธศักราช  ๒๕๕๗
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 51/2557
เรื่อง การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
           ตามที่ได้มีการจัดส่วนงาน การกำหนดอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามประกาศ ฉบับที่ ๒๒/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ และการปรับปรุงโครงสร้างการจัดของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามคำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๔/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ไปแล้วนั้น
          
เพื่อให้การติดตามสถานการณ์ และการควบคุมอำนวยการ การบริหารราชการแผ่นดินของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามคำสั่งดังกล่าว เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (ศปก.คสช.) ดังนี้
          
๑. องค์ประกอบ : อัตรากำลังพล จำนวน ๕๒ นาย ดังนี้
          
  ๑.๑ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็น ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
           
๑.๒ พลเอก สกล  ชื่นตระกูล เป็น หัวหน้าฝ่านติดตามและประสานงาน
           
๑.๓ เจ้าหน้าที่ของศูนย์ปฏิบัติการรักษาความสงบแห่งชาติ จัดจากฝ่ายต่าง ๆ ของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
          ๒. หน้าที่ความรับผิดชอบ :
           
๒.๑ ติดตามสถานการณ์ และการปฏิบัติราชการของส่วนราชการต่าง ๆ ตลอดห้วง ๒๔ ชม.
            
๒.๒ จัดทำวงรอบข่าวกรองที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อวิเคราะห์และสรุปรายงานหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประจำทุกวัน ก่อนเวลา ๐๘๐๐ พร้อมทั้งการรายงานด่วน รายงานตามสถานการณ์ และการรายงานตามห้วงระยะเวลา ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติทราบ ตามความเหมาะสม และความจำเป็นของสถานการณ์
            
๒.๓ ปฏิบัติภารกิจเพิ่มเติมตามที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
         
  ๓. การสนับสนุน :
          
   ๓.๑ ฝ่ายต่าง ๆ ของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จัดเจ้าหน้าที่สนับสนุนภารกิจของศูนย์ปฏิบัติการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
            
๓.๒ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จัดเจ้าหน้าที่และเครื่องมือที่จำเป็นสนับสนุนการปฏิบัติของศูนย์ปฏิบัติการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกในส่วนที่เกี่ยวข้อง
          
๔. สถานที่ในการปฏิบัติงาน : ณ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ในกองบัญชาการกองทัพบก และตึกไทยคู่ฟ้า  ทำเนียบรัฐบาล
          
๕. ให้ใช้โครงสร้างการจัดและอัตรากำลังพลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามผนวก ก
          
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
          สั่ง  วันที่ ๖ มิถุนายน พุทธศักราช  ๒๕๕๗

วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คำสั่ง คสช. ที่ 41 - 50 /2557

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๑/๒๕๕๗
เรื่อง การปราบปรามและหยุดยั้งการแพร่ระบาดของยาเสพติด
              เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการปราบปรามและหยุดยั้งการแพร่ระบาดของยาเสพติดให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดผลกระทบที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนและสังคมโดยรวม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
              ๑. ให้กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และชุดปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติดของทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการปราบปรามและจับกุมผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้นำเข้า และส่งออก รวมทั้งผู้สมคบและสนับสนุนช่วยเหลือให้ได้ผลอย่างจริงจังในทุกพื้นที่ สกัดกั้นการลักลอบนำเข้ายาเสพติดตลอดแนวชายแดน ปราบปรามเครือข่ายค้ายาเสพติดในทุกหมู่บ้านและชุมนุมทั่วประเทศ และใช้มาตรการตรวจสอบเพื่อยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้เกี่ยวข้องทั้งระบบ
              ๒. ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบควบคุมตรวจสอบสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ที่พัก อาคารในเชิงพานิชย์ ประเภท หอพัก อาคารชุด หรือ เกสเฮ้าส์ ที่ให้ผู้อื่นเช่า สถานที่ที่จัดให้มีการเล่น บิลเลียด สนุกเกอร์ รวมทั้งโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและสถานประกอบการอื่นๆ หากพบว่า มีการปล่อยปละละเลยให้มีการซุกซ่อน จำหน่าย และเสพยาเสพติด ให้มีการดำเนินการลงโทษตามกฎหมายอย่างเด็ดขาดกับเจ้าของหรือผู้ประกอบการในทันที
              ๓. ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบนำผู้เสพยาเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษาโดยทันที และติดตามดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดให้สามารถกลับมาดำรงชีวิตได้ตามปกติ ทั้งในด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ โดยประสานงานกับทุกองค์กรที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาคประชาชนและองค์กรชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานดังกล่าวอย่างจริงจัง
              ๔. เจ้าหน้าที่ของรัฐคนใดปล่อยปละละเลยหรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดจะต้องถูกดำเนินการทางวินัย และทางอาญาทันที
              ๕. ให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ติดตามผลการดำเนินงานตามข้อ ๑-๔ และรายงานผลการปฏิบัติให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติทราบอย่างต่อเนื่อง
              ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
              สั่ง ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๒/๒๕๕๗
เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
              เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ ๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ ดังนี้
              ๑. นายคารม พลพรกลาง
              ๒. นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ
              สั่ง ณ วันที่ ๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
         
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๓/๒๕๕๗
เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
              เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ ๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ ดังนี้
              ๑. พันตำรวจเอก นริศ แสวงจิตร
              ๒. นางหน่อย แดงเป้า
                          ฯลฯ    
              สั่ง ณ วันที่ ๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗

คำสั่ง คสช. ที่ 31 - 40 /2557

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 31/2557
เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
             เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ 30 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 10.00-11.00 น. ดังนี้
             1. นายสุวิชา พานิชผล
             2. น.ส.สายลม กาบบัวแดง
                           ฯลฯ      
             สั่ง ณ วันที่ 28 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
           
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 32/2557
เรื่อง  แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตามกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457
             ตามที่ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 16.30 น.เป็นต้นไปแล้วนั้น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติเกี่ยวกับการยุบ การระงับ การปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อย ตลอดจนการใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก จึงให้ดำเนินการดังนี้
             1. กำหนดเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ผู้ใช้อำนาจตามกฎอัยการศึกดังนี้
                 1.1 กองบัญชาการกองทัพไทย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตามกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 ทั่วราชอาณาจักร
                 1.2 กองทัพบก
                    1.2.1 ผู้บัญชาการทหารบก เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตามกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 ทั่วราชอาณาจักร
                    1.2.2 แม่ทัพภาค หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากแม่ทัพภาค เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตามกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 ตามเขตกองทัพภาค
                 1.3 กองทัพเรือ
                    1.3.1 ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตามกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 ในเขตรับผิดชอบของกองทัพเรือ
                    1.3.2 ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตามกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 ในทะเลอาณาเขตที่รับผิดชอบ
                    1.3.3 ผู้บัญชาการกองเรือภาค หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการกองเรือภาค เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตามกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 ในเขตทะเล อาณาเขตที่รับผิดชอบ
                 1.4 กองทัพอากาศ ผู้บัญชาการทหารอากาศ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตามกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 ในเขตรับผิดชอบของกองทัพอากาศ
             2. การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตามคำสั่งนี้ หากเป็นการใช้อำนาจในการปฏิบัติการซ้อนกัน ให้ประสานกับปฏิบัติกับผู้รับผิดชอบพื้นที่ตามความจำเป็น
             3. การใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร เฉพาะการเกณฑ์ หากมีความจำเป็นต้องกระทำให้รายงานขออนุมัติต่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติก่อน เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงจะดำเนินการได้ ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป
             สั่ง ณ วันที่ 28 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557

คำสั่ง คสช. ที่ 21 - 30 /2557

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 21/2557 (เฉพาะ)
เรื่อง  การกำหนดอัตรากำลังพลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพิ่มเติม
          ตามที่ได้มีการกำหนดอัตรากำลังพลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๒๐/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ไปแล้วนั้น
          เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจของ คสช. ตามคำสั่งดังกล่าว เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงกำหนดปรับอัตรากำลังพล ของ คสช. ดังนี้
          ๑. คณะที่ปรึกษา และประสานงานด้านความมั่นคง อัตรากำลังพล จากเดิม จำนวน ๒๕ นาย เป็น จำนวน ๓๐ นาย
          ๒. ให้เพิ่มอัตราที่ปรึกษาให้กับฝ่ายต่าง ๆ และส่วนงานขึ้นตรง หน.คสช. หน่วยละ ๑๐ นาย รวม ๖๐ นาย
          ๓. อัตรากำลังพลของ คสช. ภายหลังจากการปรับอัตรากำลังพล ตาม ข้อ ๑ ๒ รวมทั้งสิ้น ๖๙,๒๘๘ นาย
          ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
          สั่ง ณ วันที่   ๒๖   พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
          รับคำสั่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  พลเอก อุดมเดช สีตบุตร เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 22/2557
เรื่อง  แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
           ตามที่มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่  ๒๒/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่องการจัดส่วนงาน การกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แล้วนั้น
           
เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามประกาศฉบับดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพ จึงแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ดังนี้
           
๑. พลเอก ประวิตร   วงษ์สุวรรณ              ประธาน
           
๒. พลเอก อนุพงษ์   เผ่าจินดา                รองประธาน
           
๓. หม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร  เทวกุล          รองประธาน
          
  ๔. นายสมคิด        จาตุศรีพิทักษ์           ที่ปรึกษา
          
  ๕. นายณรงค์ชัย      อัครเศรณี              ที่ปรึกษา
          
  ๖. นายวิษณุ          เครืองาม               ที่ปรึกษา
           
๗. นายยงยุทธ       ยุทธวงศ์                ที่ปรึกษา
            
๘. พลอากาศเอก  อิทธพร   ศุภวงศ์          ที่ปรึกษา
            
๙. พลเอก นพดล     อินทปัญญา            ที่ปรึกษา
             
๑๐. พลเอก ดาว์พงษ์    รัตนสุวรรณ         ที่ปรึกษาและเลขานุการ
             
ให้คณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
              (
๑) ให้ข้อเสนอแนะต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามเรื่องที่อยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ และตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
             (
๒) ให้ความเห็นตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติขอคำปรึกษา
             (
๓) แต่งตั้งคณะบุคคลทำหน้าที่คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ตามความเหมาะสม
             (
๔) การเสนอเรื่องใด ๆ ต่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งาชาติ ให้เสนอผ่านประธานที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
             
ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
              สั่ง  วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

คำสั่ง คสช. ที่ 11 - 20 /2557

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 11/2557
เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่
              เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
              1.ให้ พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
              2.ให้ นายภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย มาปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกหน้าที่หนึ่ง โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
              ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
              สั่ง ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
     
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 12/2557
เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
             เพื่อให้การรักษาความสงบและแก้ไขปัญหาบ้านเมือง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้นายไพวงษ์ เตชะณรงค์ มารายงานตัว ณ หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ ในวันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 ห้วงเวลา 11.00 - 11.30
             สั่ง ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
     
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 13/2557
เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
            เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม ณ หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ ในวันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 11.00 - 12.00 ตามรายชื่อดังต่อไปนี้
            1. นางจรรยา สว่างจิตร
            2. นายชเยนทร์ คำนวณ
            3. นายพิชิต ชื่นบาน
            4. นางกาญจนา หงษ์เหิน
            5. นางสาวณัชชานันท์ เครือชัย
            6. นางวิมลรัตน์ กุลดิลก
            สั่ง ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
 
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 14/2557
เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
            เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม ณ หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ ในวันที่ 26 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 10.00 - 12.00 ตามรายชื่อดังต่อไปนี้
            1.นายสารัชต์ รัตนาวดี
            2.นายบัณฑิต พิทักษ์สิทธิ์  
                       ฯลฯ
            สั่ง ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557

คำสั่ง คสช. ที่ 1 - 10 /2557

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 1/2557
เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัว
       ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ได้ประกาศเข้าควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ ตามประกาศฉบับที่ 1/2557 ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 16.30 น. แล้วนั้น เพื่อให้มาตรการรักษาความสงบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลที่มีรายชื่อดังต่อไปนี้มารายงานตัว ณ กองบัญชาการรักษาความสงบแห่งชาติ (กองบังคับการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ภายในวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557) ดังนี้
       1. นายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล
       2. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
                    ฯลฯ
       สั่ง ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
   
คำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 2/2557
เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม และแก้ไขวันเวลาและสถานที่ให้มารายงานตัว
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลมารายงานตัว ณ หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ ในวันที่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 10.00 น. ตามรายชื่อดังต่อไปนี้
       1.นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
       2.นาย สมชาย วงศ์สวัสดิ์
                 ฯลฯ
       สำหรับบุคคลที่มีรายชื่อตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 1/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 และยังไม่มารายงานตัว ให้เปลี่ยนไปรายงานตัวตามวันเวลาและสถานที่ ที่ปรากฏตามคำสั่งนี้
       สั่ง ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557

คำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2557

เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
          เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม ณ หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ ในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2557 เวลา 10.00 น. ตามรายชื่อดังต่อไปนี้
          1. พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี
          2. พล.อ.ทวนทอง อินทรทัต
                    ฯลฯ
          สั่ง ณ วันที่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 4/2557

เรื่อง อนุญาตให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยการรับส่งเงินของธนาคารเดินทางในห้วงเวลากลางคืนและพกพาอาวุธ เพื่อการประกอบธุรกิจ
            ตามที่ บริษัท จีโฟร์เอส แคช โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งดำนินธุรกิจในการขนส่งทรัพย์สินของธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย และห้างร้าน ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ทั้งในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ขออนุญาตให้พนักงานและยานพาหนะของบริษัทเดินทางในห้วงเวลากลางคืน ตลอดจนให้พนักงานที่บริษัทกำหนด สามารถพกพาอาวุธที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย เพื่อดำเนินการรับส่งเงินของธนาคาร และลูกค้าเป็นกรณีพิเศษ เพื่อมิให้ธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์และลูกค้าหยุดชะงัก และส่งผลกระทบต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ และมิให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ดังนั้น คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งอนุญาตให้ บริษัท จีโฟร์เอส แคช โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินการตามที่ร้องขอได้ ทั้งนี้ ให้รวมถึงบริษัทอื่น ๆ ที่ดำเนินธุรกิจในลักษณะเดียวกัน ตลอดจนเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ปฏิบัติภารกิจรักษาความปลอดภัย การขนย้ายธนบัตรและทรัพย์สินมีค่าให้กับธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย 
             สั่ง  วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 51 - 60 /2557

ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 51/2557
เรื่อง  การพิจารณาและวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งและเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
              ตามที่ได้มีการประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่องการสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้วนั้น เพื่อให้ศาลอุทธรณ์สามารถดำเนินการพิจารณาและพิพากษาคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นต่อไป คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศดังต่อไปนี้
             ให้ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ในกรณีที่ประกาศผลการเลือกตั้งแล้วต่อไป ทั้งนี้ วิธีพิจารณาและวินิจฉัยคดีดังกล่าวให้เป็นไปตามระเบียบการประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยวิธีพิจารณาและวินิจฉัยคดี เกี่ยวกับการเลือกตั้งและเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งในการเลือกตั้ง สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2550
             ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
             ประกาศ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557

ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 52/2557
เรื่อง  ยกเลิกห้ามออกนอกเคหะสถานในบางพื้นที่
              เพื่อเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศการท่องเที่ยว และลดผลกระทบจากการห้ามออกนอกเคหะสถานในพื้นที่ที่อยู่ในสภาวะสงบ และปราศจากการชุมนุมทางการเมืองอันส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ จึงให้ยกเลิกการห้ามออกนอกเคหะสถานในพื้นที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ,พื้นที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดภูเก็ต สำหรับในพื้นที่อื่น ให้ยังคงปฏิบัติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 42/2557 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง แก้ไขห้วงเวลา ห้ามออกนอกเคหะสถาน
             ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
             ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พุทธศักราช 2557

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 53/2557
เรื่อง  กำหนดให้ผู้กระทำความผิดในบางกรณีที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 37/2557
              ตามที่ได้มีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 37/2557 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง ให้ผู้มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่สำหรับใช้เฉพาะแต่การสงครามนำส่งมอบ นั้น เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปโดยเรียบร้อยคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงประกาศดังต่อไปนี้
              มิให้นำความในคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 37/2557 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง ให้ผู้มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่สำหรับใช้เฉพาะแต่การสงครามนำส่งมอบ มาใช้บังคับแก่ผู้กระทำความผิดตามกฏหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน ที่ถูกจับกุมหรือตกเป็นผู้ต้องหาหรือเป็นจำเลยก่อนวันที่ 29 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 และอยู่ในระหว่างการสอบสวน หรือระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุด
               ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
               ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พุทธศักราช 2557

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 54/2557
เรื่อง  ยกเลิกการห้ามออกนอกเคหะสถานในบางพื้นที่เพิ่มเติม
                เนื่องจากสถานการณ์ในบางพื้นที่ได้คลี่คลายลง และไม่ปรากฏแนวโน้มของการเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง ดังนั้น เพื่อเป็นมาตรการ ผ่อนคลายและบรรเทาผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน จึงให้ยกเลิกการประกาศห้ามออกนอกเคหะสถานในพื้นที่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดกระบี่ และจังหวัดพังงา
สำหรับในพื้นที่อื่นๆ ให้ยังคงปฏิบัติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 3/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง ห้ามออกนอกเคหสถาน ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 42/2557 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่องแก้ไขห้วงเวลาห้ามออกนอกเคหสถาน และ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 52/2557 ลงวันที่ 3 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 เรื่องยกเลิกการห้ามออกนอกเคหสถานในบางพื้นที่
                ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
                ประกาศ ณ วันที่ 6 มิถุนายน พุทธศักราช 2557

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 41 - 50 /2557

ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 41/2557
เรื่อง กำหนดให้การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเรียกบุคคลให้มารายงานตัว เป็นความผิด
            ตามที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีคำสั่งเรียกบุคคลให้มารายงานตัว ต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ปรากฏว่ามีบุคคลบางราย ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาตินั้น เพื่อให้การปฏิบัติตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เกี่ยวกับการเรียกบุคคลให้มารายงานตัวต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นไปอย่างเคร่งครัดและเด็ดขาด จึงออกประกาศ ดังนี้
            1. บุคคลใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง เรียกบุคคลให้มารายงานตัว ต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกสั่งห้ามกระทำการใดๆ หรือสั่งให้กระทำการใดๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินด้วย ทั้งนี้เป็นไปตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
            2. บุคคลที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรียกให้มารายงานตัว ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 12/2557 และคำสั่งรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 13/2557 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 รวมทั้ง คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 14/2557 คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 15/2557 คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 16/2557 คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 18/2557 คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2557 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 ที่ยังไม่ได้มารายงานตัว หากยังไม่มารายงานตัวในวันที่ 27 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 10.00-12.00 น. ถือว่าฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกสั่งห้ามกระทำการใดๆ หรือสั่งให้กระทำการใดๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินด้วย ทั้งนี้เป็นไปตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
            ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
            สั่ง ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๒/๒๕๕๗
เรื่อง แก้ไขห้วงเวลา ห้ามออกนอกเคหะสถาน
            ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๓/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่อง ห้ามออกนอกเคหะสถาน โดยห้ามมิให้บุคคลใดทั่วราชอาณาจักร ออกนอกเคหะสถานภายในเวลา ๒๒.๐๐ ถึง ๕.๐๐ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นต้นไป เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่อง ข้อยกเว้นการห้ามออกนอกเคหะสถานนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงกำหนดแก้ไขห้วงเวลา ห้ามออกนอกเคหะสถานและแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
           ๑. ห้ามมิให้บุคคลใดทั่วราชอาณาจักร ออกนอกเคหะสถาน ภายในเวลา ๐๐.๐๑ ถึง ๐๔.๐๐ ตั้งแต่วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นต้นไป เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
           ๒. การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ในการรับส่งเงินและทรัพย์สินมีค่าของธนาคาร ให้ยังคงปฏิบัติตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่อง อนุญาตให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยการรับส่งเงินของธนาคาร เดินทางในห้วงเวลากลางคืน และพกพาอาวุธเพื่อประกอบธุรกิจ
           ๓. การปฏิบัติของผู้ประกอบธุรกิจการขนส่งในห้วงเวลาที่ห้ามออกนอกเคหะสถาน ให้ยังคงปฏิบัติตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๗/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่อง การอนุญาตให้ขนส่งสินค้าในห้วงเวลาที่ห้ามออกนอกเคหะสถาน
            ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 31 - 40 /2557

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 31/2557
เรื่อง การประชุมกำหนดแนวทางดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ
            เพื่อให้การดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ การเงิน การธนาคาร และการคลัง เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงขอเรียนเชิญปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประธานสมาคมธนาคารไทย ประธานสมาคมหอการค้าไทย ประธานสมาคมการค้า และประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รวมทั้งคณะผู้ติดตาม หน่วยงานละ 1 คน เข้าร่วมประชุมกำหนดแนวทางการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ ในวันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 10.00 น. ณ สโมสรกองทัพบก ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
            ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 32/2557
เรื่อง ระงับการออกอากาศของสถานีวิทยุชุมชนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย และสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการ
            เพื่อให้การเผยแพร่ข่าวสารเป็นไปด้วยความถูกต้อง ปราศจากการบิดเบือน อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด จนส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อย ซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 15/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และฉบับที่ 23 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 โดยระงับการออกอากาศของสถานีวิทยุชุมชนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายที่กำหนด และสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการแล้วนั้น และเพื่อให้เกิดความชัดเจนและมีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน จึงประกาศให้สถานีวิทยุชุมชนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย และสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการ ถือปฏิบัติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติทั้ง 2 ฉบับโดยเคร่งครัด
            ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
            ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 33/2557
เรื่อง ขอความร่วมมือในการปฏิบัติของศาล องค์กรอิสระ และองค์กรอื่น
            ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่กำหนดให้ศาลทั้งหลาย คงมีอำนาจดำเนินการพิจารณาและพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมาย และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตลอดจนให้องค์กรอิสระ และองค์กรอื่น ตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปนั้น เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน และมีความสมานฉันท์ในการร่วมกันแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองโดยสันติวิธี ดังนั้น คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงขอความร่วมมือให้สถาบันศาล องค์กรอิสระ และองค์กรอื่นๆ งดแสดงความคิดเห็น ที่อาจทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด มีความสับสนหรือเกิดการแตกความสามัคคี จนส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของพนักงานเจ้าหน้าที่ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
            ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
            ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557

ประกาศ คสช. ฉบับที่ 21 - 30 /2557

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 21/2557
เรื่อง ห้ามบุคคลเดินทางออกนอกราชอาณาจักร  
                ตามที่ได้มีคำสั่งให้บุคคลเข้ารายงานตัว ณ หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ ในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2557 เวลา 10.00 น. ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 1/2557 ฉบับที่ 2/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2557 และฉบับที่ 3/2557 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2557 รวมจำนวน 155 รายนั้น เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขสถานการณ์ปัญหาความขัดแย้งของบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงห้ามบุคคลตามคำสั่งดังกล่าวเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ สำหรับบุคคลใดที่ไม่เข้ารายงานตัวตามคำสั่ง จะถูกติดตามจับกุมและดำเนินคดี ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
                ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2557 

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 22/2557

เรื่อง การจัดส่วนงาน การกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 
                เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด จึงกำหนดส่วนงาน อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ ดังนี้
                1.ระดับนโยบาย :​ ได้แก่
                    1.1 การจัดส่วนงาน แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
                       1.1.1 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประกอบด้วย หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ,รองหัวหน้าคณะฯ 4 ท่าน และเลขาธิการฯ 1 ท่าน
                       1.1.2 คณะที่ปรึกษาและประสานงานด้านความมั่นคง
                    1.2 ระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ : ได้แก่
                       1.2.1 ฝ่ายความมั่นคง
                       1.2.2 ฝ่ายเศรษฐกิจ
                       1.2.3 ฝ่ายสังคมจิตวิทยา
                       1.2.4 ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
                       1.2.5 ฝ่ายกิจการพิเศษ
                       1.2.6 ส่วนงานขึ้นตรง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                    1.3 ระดับปฏิบัติ : ได้แก่ ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประกอบด้วย
                       1.3.1 กระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อ หัวหน้าคณะฯ
                       1.3.2 กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย
                2. อำนาจหน้าที่ ให้แต่ละส่วน มีหน้าที่ดังนี้
                   2.1 ระดับนโยบาย
                       2.1.1 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีหน้าที่ กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งนโยบายเฉพาะหน้า และนโยบายระยะยาว เพื่อให้ส่วนงานระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และระดับปฏิบัตินำไปดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้
                      2.1.2 คณะที่ปรึกษาและประสานงานด้านความมั่นคง มีหน้าที่ให้คำแนะนำต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติร้องขอ หรือที่ริเริ่มขึ้นเอง
                   2.2 ระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ มีหน้าที่ อำนวยการ ควบคุม กำกับดูแลการปฏิบัติราชการของกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้องตามความรับผิดชอบ ให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติกำหนด
                   2.3 ระดับปฏิบัติ มีหน้าที่ ปฏิบัติราชการ ตามนโยบายที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติกำหนด
               3. การแบ่งมอบความรับผิดชอบ
                  3.1 สำนักเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ : มี พลเอก อุดมเดช สีตบุตร เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด รับผิดชอบหน่วยงาน/ส่วนราชการ ที่ขึ้นตรงต่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหน่วยงาน/ส่วนราชการที่มิได้กำหนดไว้ในประกาศฉบับนี้ รวมทั้งกำกับดูแลการปฏิบัติงานทั้งปวงของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยมี พลโท ชาตอุดม ติตถะสิริ รองเสนาธิการทหารบกเป็นรองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                  3.2 กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย : มี แม่ทัพภาคที่ 1 เป็นผู้บัญชาการกองกำลังรักษาตวามสงบเรียบร้อย มีหน่วยงานในบังคับบัญชาประกอบด้วย กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยกองทัพภาคที่ 1-4 (กำลังของกองทัพไทย เหล่าทัพ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขึ้นควบคุมทางยุทธการ)
                  3.3 ฝ่ายความมั่นคง : มี พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง และมี พลเอกอักษรา เกิดผล เสนาธิการทหารบก เป็น รองหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง มีหน่วยงาน/ส่วนราชการในความรับผิดชอบ รวม 4 หน่วยงาน ได้แก่
                  - กระทรวงกลาโหม
                  - กระทรวงมหาดไทย
                  - กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
                  - กระทรวงการต่างประเทศ
                  3.4 ฝ่ายสังคมจิตวิทยา : มี พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา และมี พลโท สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รองเสนาธิการทหารบก เป็นรองหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา มีหน่วยงาน/ส่วนราชการในความรับผิดชอบ รวม 7 หน่วยงาน คือ
                  - กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                  - กระทรวงศึกษาธิการ
                  - กระทรวงสาธารณสุข
                  - กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                  - กระทรวงวัฒนธรรม 
                  - กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
                  - กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
                  3.5 ฝ่ายเศรษฐกิจ : มี พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ และมี พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็นรองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ มีหน่วยงาน/ส่วนราชการในความรับผิดชอบ รวม 7 หน่วยงาน ได้แก่
                  - กระทรวงการคลัง
                  - กระทรวงพาณิชย์
                  - กระทรวงอุตสาหกรรม
                  - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
                  - กระทรวงพลังงาน
                  - กระทรวงแรงงาน
                  - กระทรวงคมนาคม
                  3.6 ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม : มี พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และมี พลโท ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข รองเสนาธิการทหารบกเ เป็น รองหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม มีหน่วยงาน/ส่วนราชการในความรับผิดชอบ จำนวน 3 หน่วยงาน ได้แก่
     - กระทรวงยุติธรรม
     - สำนักงานอัยการสูงสุด
     - สำนักงานป้องกันแล้วปราบปรามการฟอกเงิน
                  3.7 ฝ่ายกิจการพิเศษ : มี พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นหัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ และมี พลโท สุชาติ หนองบัว ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายกำลังพล เป็นรองหัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ มีหน่วยงานและส่วนราชการ ในความรับผิดชอบ จำนวน 20 หน่วยงาน ได้แก่
                  - สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.)
                  - สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.)
                  - สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
                  - สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
                  - สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
                  - สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ (ก.พ.ร.)
                  - สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.)
                  - กรมประชาสัมพันธ์ (กปส.)
                  - สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
                  - สำนักนายกรัฐมนตรี
                  - สำนักราชเลขาธิการ
                  - สำนักพระราชวัง
                  - สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
                  - สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
                  - สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
                  - ราชบัณฑิตยสถาน
                  - สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
                  - สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
                  - สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน
                  3.8 ส่วนงานขึ้นตรงกับหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จำนวน 5 หน่วยงาน ได้แก่
                  - กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
                  - สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
                  - สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
                  - สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
                  - สำนักงบประมาณ
                ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤษภาคม 2557